ลงทุนใน EEC มีสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง?

สิทธิประโยชน์ตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ปี 2563-2564

รายละเอียด

สิทธิประโยชน์

ประเภทกิจการ

 

 
หมวด 8 A1 A2 A3

1. สิทธิประโยชน์พื้นฐาน

ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
10 ปี 8 ปี 8 ปี 5 ปี

สิทธิประโยชน์เพิ่มเติม กรณีมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

2. กรณีโครงการมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50%
2 ปี
3 ปี 3 ปี 3 ปี

สิทธิประโยชน์เพิ่มเติม กรณีตั้งอยู่ในพื้นที่เฉพาะ

3. กรณีโครงการมีที่ตั้งใน EECi EECa EECd และ EECmd

ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50%
1 ปี
2 ปี 2 ปี 2 ปี

หรือ

3. กรณีโครงการมีที่ตั้งในนิคม หรือเขตอุตสาหกรรม

ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50%
1 ปี 1 ปี
A1: อุตสาหกรรมฐานความรู้ เน้นการออกแบบ ทำ R&D เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
A2: กิจการโครงสร้างพื้นฐานเพื่อพัฒนาประเทศ และกิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม แต่มีการลงทุนในประเทศน้อยหรือยังไม่มีการลงทุน
A3: กิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ โดยมีฐานการผลิตอยู่บ้างเล็กน้อย
หมวด 8: การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ได้แก่ กิจการพัฒนา Biotechnology Nanotechnology Advanced Material Technology และ Digital Technology

สิทธิประโยชน์เพิ่มเติม

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

  • คนงานต่างชาติที่ทำงานในเขตส่งเสริมต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลที่่อัตราร้อยละ 17 ซึ่งครอบคลุมถึงบิดา มารดาคู่สมรส และบุตร
  • ผู้บริหารต่างชาติที่ทำงานที่สำนักงานใหญ่หรือบริษัทการค้าระหว่างประเทศในพื้นที่ EEC ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลที่อัตราร้อยละ 15

ภาษีอากรขาเข้า

  • ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร
  • ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนา

การหักลดหย่อนพิเศษ

  • ลดหย่อนภาษีในอัตรา 3 เท่าของต้นทุนงานวิจัยและพัฒนาด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี
  • อุตสาหกรรมเป้าหมายที่เป็นอุตสาหกรรมใหม่หรืออุตสาหกรรมที่มีการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงจะได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

ธุรกรรมทางการเงิน

  • ผู้ประกอบการจะได้รับการยกเว้นจาก
    กฏหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและสามารถใช้สกุลเงินต่างประเทศในเขตส่งเสริม

การครอบครองที่ดินและอสังหาริมทรัพย์

  • หน่วยงานต่างประเทศสามารถถือครองที่ดินและอสังหาริมทรัพย์สำหรับการดำเนินธุรกิจได้
  • หน่วยงานต่างประเทศสามารถถือครองทรัพย์สินเพื่อการอยู่อาศัยได้
  • หน่วยงานต่างประเทศมีสิทธิทำ สัญญาเช่า/เช่าช่วง/เช่าที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ภายในเขตส่งเสริมเป็นเวลา 50 ปี และสามารถต่ออายุเมื่อได้รับการอนุมัติอีก 49 ปี

การย้ายถิ่นฐานและการพํานักอาศัยในประเทศไทย

  • ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้บริหารชาวต่างชาติรวมถึงคู่สมรสและผู้ที่อยู่ในความอุปการะสามารถเข้ามาและพำนักอาศัยในราชอาณาจักรไทยในช่วงระยะเวลาเกินกว่าที่กฏหมายกำหนด

ขอบคุณข้อมูลจาก: www.eeco.or.th