พิธีการศุลกากรสำหรับกิจการ E-Commerce ณ เขตปลอดอากรในพื้นที่ EEC

ประกาศกรมศุลกากรที่ 204 เรื่องการปฏิบัติพิธีการศุลกากร ณ เขตปลอดอากรกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ภายในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเป็นระเบียบเกี่ยวกับเขตปลอดอากรตามกฏหมายศุลกากรสำหรับการนำเข้าและส่งออกสินค้า E-Commerce ในเขต EEC ซึ่งประกาศดังกล่าว กำหนดคุณสมบัติและหลักเกณฑ์ของผู้ลงทุนไว้โดยไม่จำกัดเฉพาะผู้ลงทุนเพียงรายหนึ่งรายใดเท่านั้นสาระสำคัญของประกาศ

1. ผู้ขอจัดตั้งเขตปลอดอากรกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และผู้ได้รับอนุญาตประกอบกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องเป็นนิติบุคลตามกฏหมาย
2. ผู้ประกอบกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องจัดเตรียมความพร้อมเพื่อการตรวจสอบสินค้าและการควบคุมทางศุลกากร ตามมาตรฐานที่กรมกำหนดได้แก่ ระบบการส่งข้อมูล Pre-Manifest ล่วงหน้าระบบขนส่งทางสายพานระบบเอกซ์เรย์ทีทันสมัยระบบการตรวจสอบสินค่าคงคลังอิเล็กทรอนิกส์ ระบบการเคลื่อนย้ายสินค้าที่ควบคุมโดยระบบ E-lock เป็นต้นเพื่อรองรับการนำเข้าทุกรูปแบบทั้งทางอากาศยาน เรือ รถ และรถไฟ
3. สินค้าทุกรายการจะต้องมีเทคโนโลยีระบบตัวตนหรือระบบ QR-CODE หรือเทคโนโลยีอื่นที่เหนือกว่าเพื่อระบุข้อมูลชนิดสินค้าพิกัดอัตรา ราคา และวันเวลาที่นำเข้าและผู้ส่งต้นทางซึ่งจะเป็นฐานข้อมูลในการบริหารความเสี่ยง ของกรมฯและใช้สำหรับการตรวจสอบสินค้าคงคลังด้วย
4. ใช้รูปแบบการจัดทำใบขนสินค้าอย่างง่ายสำหรับการนำเข้าและส่งออกสินค้าในขตปลอดอากรกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
5. การนำเข้าสินค้าเข้าเขตปลอดอากรกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จะได้รับยกเว้นใบอนุญาตในการนำเข้าและได้รับสิทธิในการเก็บรักษาสินค้าในเขตปลอดอากรเป็นระยะเวลา2ปี
6. ได้รับสิทธิยังไม่ต้องชำระค่าอากรขาเข้าจนกว่าจะจบกำหนด14 วัน นับแต่วันที่ยื่นใบขนสินค้าและพนง.ศุลกากรได้รับและออกเลขที่ใบขนสินค้าให้และหากมีการส่งสินค้ากับเข้าไปในเขตปลอดอากร EEC ภายใน 14 วันดังกล่าวให้ถือว่ายังมิได้มีการนำของออกจากเขตปลอดอากร EEC และไม่มีภาระค่าอากรตามที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกประกาศกำหนดไว้

ประโยชน์ที่ผู้ลงทุนในเขต EECจะได้รับ

1.ประหยัดค่าใช้จ่ายโดยเป็นพิธีการที่สะดวกเรียบง่ายให้จำทำใบขนสินค้าอย่างง่ายตามแบบที่กำหนด
2.ดำเนินการด้วยความรวดเร็วทันสมัยโดยนำใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้งานได้แก่ควบคุมการเคลื่อนย้านสินค้าด้วยระบบกุญแจอิเล็กทรอนิกส์การใช้เทคโลยี QR-CODE ในการบันทึกข้อมูลสินค้าการตรวจสอบสินค้าด้วยการเอกซ์เรย์บนระบบสายพานการจัดทำสินค้าคงคลังอิเล็กทรอนิกส์
3.ได้รับยกเว้นใบอนุญาตสำหรับสินค้าที่นำเข้าเก็บในเขตปลอดอากร EEC
4.ยังไม่ต้องชำระค่าอากรขาเข้าทันทีตามที่คณะกรรมการนโยบายเขตพิฌศษภาคตะวันออกประกาศกำหนดไว้
ประโยชน์ที่ผู้สงออกสินค้า E-Commerce ในประเทศไทยผ่านทางเขต EEC
ส่งเสริมและสนับสนุนการส่งออกสินค้า E-Commerce ในประเทศไทย เช่นผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ไปขายยังต่างประเทศผ่านทางแพลตฟอร์มซื้อขายสินค้าออนไลน์ที่เป็นสากล เพื่อให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย

ขอบคุณข้อมูลจาก:  www.ctat.or.th