ซื้อบ้านกรมบังคับคดี มีข้อดี-ข้อเสีย อย่างไร ? อัปเดต 2566

ซื้อบ้านกรมบังคับคดี

ซื้อบ้านกรมบังคับคดี อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนอยากมีบ้านทำเลดี ราคาถูกกว่าซื้อบ้านใหม่ แต่ต้องแลกมาด้วยหลายๆ อย่าง ที่คุณคิดไม่ถึง ซึ่งการซื้อบ้านกับ กรมบังคับคดี นั้นทั้งข้อดี และข้อเสีย วันนี้เราจึงได้ทำการรวบรวมมาเพื่อเป็นตัวช่วยให้คุณได้ตัดสินใจ ไปดูกันได้เลย

ซื้อบ้านกรมบังคับคดี คืออะไร ?

บ้านกรมบังคับคดี คือ บ้านมือสองที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้ฟ้องร้อง ทรัพย์สินของลูกหนี้ก็จะต้องถูกขายเพื่อนำเงินไปชดใช้หนี้ กรมบังคับคดีจึงมีหน้าที่นำบ้านหรือคอนโดซึ่งเป็นสินทรัพย์ของลูกหนี้ ออกประมูลขายตามคำตัดสินของศาล หรือที่เรียกว่าหมายเลขคดีแดง

โดยบ้านที่กรมบังคับคดี ขายทอดตลาด มีจุดประสงค์เพื่อจ่ายชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ โดยราคาเปิดประมูลทรัพย์ขายทอดตลาด กรมบังคับคดี จึงมักจะต่ำกว่าราคาบ้านที่ขายในท้องตลาดมากพอสมควร

ข้อดี ข้อเสีย กับการ ซื้อบ้านกรมบังคับคดี

ข้อดี

1. ราคาบ้านที่นำมาประมูลถูกกว่าท้องตลาด 10-50%

2. บ้านหลายแห่งอยู่ในทำเลที่ดี ใจกลางเมือง

3. บ้านบางหลังอยู่ในทำเลทอง หาไม่ได้อีก

ข้อเสีย

1. เป็นบ้านสภาพตามจริง ไม่ได้เห็นก่อนซื้อ มีหลายส่วนที่ต้องการการซ้อมแซม

2. อาจมีการฟ้องร้องขับไล่ที่เกิดขึ้น เนื่องจากเจ้าของบ้านเก่าไม่ย้ายออก

3. ได้ราคาแพงกว่าที่ตั้งใจ เนื่องจากประมูลแข่งกับธนาคารที่เป็นโจทย์

4. อาจจะเจอธนาคารที่เป็นโจทย์ประมูลในราคาที่สูงมาตั้งแต่แรก

เห็นได้ว่าการซื้อ บ้านกรมบังคับคดี นั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่ถ้าบ้านหลังนั้นถูกใจจริงๆ หรือเป็นทำเลที่เราอยากได้ ก็สามารถดำเนินการตามนี้ได้เลย

ซื้อบ้านจากกรมบังคับคดีทำยังไง ?

  1. เข้าสู่เว็บไซต์ของกรมบังคับคดี (www.led.go.th) หรือ หรือแอปพลิเคชั่น LED property PLus แล้วค้นหาบ้านที่เราต้องการ ตรวจสอบรายละเอียดให้ครบถ้วน ซึ่งข้อมูลสำคัญที่ควรตรวจสอบ เช่น ลักษณะบ้านที่ขาย ราคาประมูลตั้งต้น จำนวนเงินที่ต้องวางหลักประกัน และเงื่อนไขในการขาย ซึ่งในส่วนของเงื่อนไขการขาย
  2. จัดเตรียมเอกสารและเงินประกัน บัตรประชาชนพร้อมสำเนา แต่ถ้ามีคนประมูลแทนให้ใช้ใบมอบอำนาจด้วยพร้อมกับปิดอากรแสตมป์ 30 บาท และสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ เงินประกันให้เตรียมเป็นเงินสดหรือแคชเชียร์เช็คตามจำนวนที่กรมบังคับคดีกำหนด
  3. เข้าไปสำรวจให้เห็นสภาพจริงว่าเป็นอย่างไร เนื่องจากภาพถ่ายในเว็บไซต์อาจไม่ตรงกับสภาพปัจจุบัน

ขั้นตอนการประมูล

1. ในวันประมูลให้ลงทะเบียนกับพนักงาน พร้อมวางเงินสดหรือแคชเชียร์เช็คเป็นหลักคำประกันและทำสัญญาในการเสนอราคา รับป้ายประมูล เตรียมประมูล

2.  เจ้าหน้าที่จะแจ้งรายละเอียด กฏกติกาในการประมูล โดยเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดีจะเป็นคนกำหนดราคาเริ่มต้น ถ้ารอบแรกในการประมูลไม่มีคนยกป้าย
รอบที่ 2 ราคาจะลดราคาจากราคาตั้งต้นลงมาเหลือ 90%
รอบ 3 ลดลงมาเหลือ 80%
รอบ 4 ลดลงมาเหลือ 70%

3. ถ้าสนใจให้ยกป้ายประมูล โดยเจ้าหน้าที่จะเป็นคนกำหนดราคาที่เพิ่มในแต่ละครั้ง แต่ผู้ประมูลก็สามารถได้เท่ากับหรือมากกว่าที่กำหนดไว้ได้

4. เจ้าหน้าที่เคาะไม้ให้ผู้ชนะ

หลังจากผ่านพ้นกระบวนการนี้ต่อไปจะเป็นขั้นตอนการ โอนกรรมสิทธิ์

1. ทำสัญญาซื้อขาย

2. โอนกรรมสิทธิ์

3. ชำระค่าใช้จ่าย

การประมูลบ้านที่ผู้พักอาศัยเดิมยังไม่ย้ายออก ถ้าเราชนะการประมูลและชำระเงินเรียบร้อยแล้ว หากผู้พักอาศัยเดิมไม่ยอมย้ายออก เราสามารถยื่นคำร้องต่อศาลที่ทรัพย์นั้นตั้งอยู่เพื่อขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี และให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปขับไล่แทน โดยที่เราไม่ต้องไปยื่นฟ้องใหม่