ปวดคอแบบไหนที่ต้องระวัง โดยเฉพาะชาวออฟฟิศ อัปเดต 2566

ปวดคอแบบไหนที่ต้องระวัง

ปวดคอ เป็นภาวะที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ในคนทุกเพศทุกวัย ปวดคอแบบไหนที่ต้องระวัง โดยอาการปวดคอนั้นมีหลากหลายสาเหตุ เช่น การนอนหมอนสูงเกินไป การนั่งหรือทำกิจกรรมที่มีการเกร็งคอนานๆ ซึ่งอาการนี้จะสามารถหายเองได้ แต่รู้หรือไม่ภาวะปวดคอนั้นมีหลายรูปแบบ และอาการปวดคอ แบบไหนถือว่าอันตราย ? วันนี้เรามีคำตอบ

ปวดคอแบบไหนที่ต้องระวัง อัปเดต 2566

โรงพยาบาลศิครินทร์ ได้ให้ข้อมูล ดังนี้ อาการปวดคอ บริเวณต้นคอ บ่า ไหล่ เป็นอีกหนึ่งอาการยอดฮิตที่พบได้ในผู้ป่วยหลากหลายอาชีพ โดยเฉพาะหนุ่มสาวชาวออฟฟิศ ที่จะต้องนั่งอยู่ในลักษณะท่าเดิมๆ และเป็นระยะเวลานานในแต่ละวัน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของอาการปวดคอ

ปวดคอ แบบไหนถือว่าอันตราย?!

  • ปวดคออย่างเดียว​ โดยปวดมาถึงบริเวณบ่าและสะบัก กลุ่มนี้แม้ว่าจะหายจากอาการปวดคอได้ง่าย​ และไม่อันตราย แต่ผู้ป่วยที่มีอาการนี้ควรเข้ามาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยว่าอาจจะมีภาวะออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) หรือหมอนรองกระดูกเสื่อม
  • ปวดเพราะมีการกดทับเส้นประสาท อาการจะปวดร้าวลงแขนไปจนถึงมือ ร่วมกับมีอาการชา ในบางรายอาจมีอาการอ่อนแรง เช่น ยกไหล่ไม่ขึ้น ขยับนิ้ว หรือกระดกข้อมือไม่ขึ้นร่วมด้วย ซึ่งอาการนี้สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด
  • ปวดเพราะมีการกดทับไขสันหลัง กลุ่มนี้จะมีอาการแสดงที่ไม่ชัดเจน ทำให้กว่าผู้ป่วยจะรู้ตัวก็มักจะเป็นมากแล้ว ผู้ป่วยอาจมีประวัติปวดคอเรื้อรัง ร่วมกับปวดลงแขนหรือลงขา หรือมีอาการชาร่วมด้วย ไปจนถึงมีอาการอ่อนแรง หรือกล้ามเนื้อบางส่วนเจ็บ กล้ามเนื้อมือลีบ หยิบจับของเล็กๆ หรือใช้มือทำงานที่ละเอียด เช่น กลัดกระดุม ผูกเชือกรองเท้าไม่ถนัด ตลอดจนมีอาการของการเดินเซ สูญเสียการทรงตัวที่ดีไป อาจมีอาการจนถึงขั้นควบคุมระบบการขับถ่ายได้ลำบาก
    ในอดีตกลุ่มที่ปวดเพราะมีการกดทับไขสันหลัง จะทำการรักษาค่อนข้างลำบากและมีความเสี่ยงสูง เพราะระยะห่างระหว่างไขสันหลังกับหมอนรองกระดูก หรือหมอนรองกระดูกกับเส้นประสาทห่างกันน้อยมาก บางรายเบียดชิดเส้นประสาท หรือห่างไม่ถึงมิลลิเมตร แต่ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่มีความแม่นยำและปลอดภัย นั่นคือกล้อง MICROSCOPE ที่ทำให้สามารถมองเห็นเส้นประสาทได้ชัด ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวไว และลดความเสี่ยงในการผ่าตัดลงได้มาก
    นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการผ่าตัดนั่น คือ Intraoperative Neuromonitoring ที่จะช่วยตรวจสอบการทำงานของเส้นประสาทแบบ Real Time ทำให้การบาดเจ็บต่อเส้นประสาทของผู้ป่วยขณะผ่าตัดน้อยลง จึงช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตได้

วิธีป้องกันและบรรเทาอาการปวดคอ

  • การยืดกล้ามเนี้อ
  • ไม่นอนหมอนที่สูงเกินไป
  • ไม่เกร็งคอในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ
  • ไม่สะบัดคอแรงๆ
  • จัดโต๊ะ​ทำงานให้เหมาะกับสรีระร่างกายของคนทำงาน

อ่านบทความดีๆ เพิ่มเติมที่ได้ที่นี่ คลิก

ขอบคุณข้อมูลจาก

โรงพยาบาลศิครินทร์

โรงพยาบาลพญาไท

โรงพยาบาลจุฬารัตน์9


𝐏𝐫𝐢𝐦𝐨 𝐒𝐞𝐫𝐯𝐢𝐜𝐞 𝐒𝐨𝐥𝐮𝐭𝐢𝐨𝐧𝐬

เป็นผู้นำในธุรกิจบริการด้านอสังหาริมทรัพย์สมัยใหม่แบบครบวงจรและกำกับดูแลกิจการในกลุ่มบริษัทในเครือ ให้พัฒนาและเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งพัฒนาและลงทุนในธุรกิจสมัยใหม่ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด

𝐒𝐮𝐩𝐞𝐫 𝐋𝐢𝐯𝐢𝐧𝐠 𝐒𝐞𝐫𝐯𝐢𝐜𝐞𝐬, 𝐇𝐚𝐩𝐩𝐲 𝐌𝐚𝐤𝐞𝐫

Tel : 02-0810000

Website: https://primo.co.th/

Line : https://lin.ee/Jt3nhkF