รีไฟแนนซ์บ้านคอนโดธนาคารไหนดี 2566

รีไฟแนนซ์บ้านคอนโดธนาคารไหนดี

ใครที่กำลังผ่อนบ้าน คอนโด ใกล้ครบ 3 ปี แล้ว และมองหาการ รีไฟแนนซ์บ้านคอนโดธนาคารไหนดี 2566 เราได้รวบรวมมาไว้ให้แล้ว ไปดูกันได้เลย

รีไฟแนนซ์บ้านคอนโดธนาคารไหนดี 2566

วันนี้เราได้รวบรวมมาทั้งหมด 7 ธนาคาร ดังนี้

1. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธอส. (GHB)

ธนาคารแรกคงหนีไม่พ้นธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือที่เราเรียกกันสั้นๆว่า ธอส. เพราะเนื่องจากเป็นที่รู้กันดีในแวดวงว่า เป็นธนาคารฯ ที่ปล่อยอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าทุกธนาคารฯ ทำให้ ธอส. เป็นธนาคารฯ อันดับหนึ่งในการยื่นขอสินเชื่อ หรือ รีไฟแนนซ์บ้านคอนโดธนาคารไหนดี นั้นเอง

โดยอัตราดอกเบี้ย รีไฟแนนซ์บ้านคอนโดธนาคารไหนดี ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ คือ สินเชื่อในโครงการบ้าน ธอส.เพื่อสานสุข โดยต้องมีการทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ (MRTA) อัตราดอกเบี้ยในปีที่ 1 อยู่ที่ 3.5%(MRR-3.15%) ปีที่ 2 อยู่ที่ 4.5% (MRR-2.15%) และปีที่ 3 อยู่ที่ 5.25% (MRR-1.40%) อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีอยู่ที่ 3.50 วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 3 ล้านบาท ผ่อนนานสูงสุด 40 ปี

2.  ธนาคารออมสิน (GSB)

ธนาคารที่ได้รับความนิยมในลำดับถัดมา คือ ธนาคารออมสิน โดย รีไฟแนนซ์บ้านคอนโดธนาคารไหนดี ในอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเคหะ My Home My Love สำหรับรีไฟแนนซ์ วงเงินกู้สินเชื่อเคหะต่ำกว่า 10 ล้าน สำหรับกลุ่มลูกค้าทั่วไปแบบทำประกัน ดอกเบี้ยปีแรกอยู่ที่ 2.89%(MRR-3.855%) ปีที่ 2-3 อยู่ที่ 4.24%(MRR-2.505%) และมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีอยู่ที่ 3.79% ผ่อนต่ำ ล้านละ 3,555 บาท/เดือน (6 เดือนแรก) ฟรี ค่าจัดทำนิติกรรมสัญญา ค่าบริการสินเชื่อ ผ่อนนาน 40 ปี

3.  ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY)

ต่อมาคือธนาคารกรุงศรีฯ หรือแบงค์เหลืองของใครหลายๆคน ไดมีสินเชื่อบ้านกรุงศรีรีไฟแนนซ์ มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ 3.40%(MRR-3.50%) นาน 3 ปี วงเงินกู้ตั้งแต่ 1.5 ล้านบาทขึ้นไป อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีอยู่ที่ 3.40% ฟรีค่าประเมินหลักประกัน มูลค่า 3,210 บาท

4. ธนาคารกรุงเทพ (BBL)

สำหรับธนาคารกรุงเทพ มีสินเชื่อบ้านบัวหลวง กรณีหลักทรัพย์เป็นที่อยู่อาศัยทั่วไป เฉพาะวงเงินอนุมัติตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป และทำประกันชีวิตคุ้มครองเครดิต โฮมเฟิร์ส พลัส (ฉบับปรับปรุง) อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1 อยู่ที่ 2.8% (MRR-4.05%) ปีที่ 2 อยู่ที่ 3.3% (MRR-3.55%) และปีที่ 3 อยู่ที่ 5.1%(MRR-1.75%) โดยมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีอยู่ที่ 3.73% ผ่อนชำระได้นานสูงสุด 30 ปี และพิเศษเฉพาะพนักงานประจำผ่อนได้นานสูงสุด 35 ปี ฟรี ค่าสํารวจและประเมินหลักประกัน

5.ธนาคารกรุงไทย (KTB)

ด้านธนาคารกรุงไทยก็ไม่น้อยหน้า มีอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านรีไฟแนนซ์ที่กำลังมาแรงของธนาคารกรุงไทยในเดือนนี้คือ อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านฉลองครบรอบ 57 ปีธนาคารกรุงไทย เพียงทำประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ (MRTA) ก็จะได้ดอกเบี้ยปีแรกอยู่ที่ 1.75% และในปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 4.32%(MRR-2.80%) ทำให้อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี อยู่ที่ 3.46% ระยะเวลาส่งเสริมการขายตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน – 30 กันยายน 2566 และทำนิติกรรมจำนองภายใน 30 วัน

6. ธนาคารทหารไทยธนชาติ (TTB)

ขณะเดียวกันธนาคารไทยธนชาติ มีสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน ทีเอ็มบี อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีอยู่ที่ 3.45 %  เเละมีอัตราดอกเบี้ย MRR อยู่ที่ 7.38% วงเงินอนุมัติ ขั้นต่ำ 500,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 50,000,000 บาท โดยมีเงื่อนไขว่าโครงการที่กู้ซื้อนั้นต้องเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ธนาคารกำหนด อีกทั้งต้องสมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริมทั้ง 3 ประเภท  ระยะเวลาผ่อนชำระนานสูงสุดถึง 35 ปี ฟรีค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยและค่าประเมินราคาหลักทรัพย์

7. ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ (LH BANK)

สุดท้ายนี้ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ มี สินเชื่อบ้านรีไฟแนนซ์ ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ (LH BANK) มีอัตราดอกเบี้ยบ้านเฉลี่ย 3 ปีเเรกอยู่ที่ 3.35% สำหรับผู้กู้รายได้ตั้งแต่ 20,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป  ระยะเวลาผ่อนนานถึง 30 ปี อีกทั้งไม่เสียค่าประเมินหลักประกัน

*เงื่อนไขอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามแต่ละธนาคารกำหนด

ถ้าถามว่า รีไฟแนนซ์ อย่างไรให้คุ้มค่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ SET ได้ให้ข้อมูลไว้ดังนี้

3 ขั้นตอน รีไฟแนนซ์อย่างไรให้มีกำไรคุ้มค่า” ก่อนตัดสินใจ ดังนี้

1. เปรียบเทียบเงื่อนไขของธนาคารต่าง ๆ

เนื่องจากกฎเกณฑ์ของแต่ละธนาคารไม่เหมือนกัน ประเด็นหลักที่ต้องพิจารณาคือ อัตราดอกเบี้ยตลอดอายุสินเชื่อที่จะรีไฟแนนซ์จะต้องต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยตลอดสินเชื่อที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งเงื่อนไขเรื่องจำนวนเงินผ่อนต่องวดที่ลดลงและระยะเวลาการผ่อนชำระที่นานขึ้น เพื่อคำนวณว่าจะช่วยลดภาระดอกเบี้ยให้เรามากขนาดไหน

2.สำรวจค่าใช้จ่ายอื่น ๆ

การรีไฟแนนซ์ก็คล้ายกับการขอสินเชื่อใหม่ ดังนั้นเราก็จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในกระบวนการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การจดจำนองหลักประกัน 1% ของวงเงินกู้ การประเมินมูลค่าหลักประกัน การทำประกันอัคคีภัย ซึ่งหลาย ๆ ธนาคารก็มักจะยื่นข้อเสนอประเภทฟรีค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เพื่อจูงใจให้ตัดสินใจเลือกรีไฟแนนซ์ด้วย ที่สำคัญคือ ต้องตรวจสอบเงื่อนไขการไถ่ถอนสินเชื่อจากธนาคารเดิมด้วยว่า กำหนดให้สามารถรีไฟแนนซ์ได้ตั้งแต่ปีที่เท่าไรของการกู้ เพราะถ้าผิดเงื่อนไข จะต้องจ่ายค่าปรับการไถ่ถอนก่อนกำหนดด้วย

3.ตัดสินใจว่าจะรีไฟแนนซ์หรือไม่

หลังจากได้ข้อมูลแหล่งเงินกู้ที่ให้อัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุดแล้ว ก็ต้องวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจ โดยนำค่าใช้จ่ายทั้งหมดมาเปรียบเทียบกับจำนวนดอกเบี้ยทั้งหมดที่เราจะประหยัดไปได้ หากดูแล้วคุ้มค่าต่อการรีไฟแนนซ์ ก็ติดต่อธนาคารและดำเนินการตามขั้นตอนได้เลย ถ้าต้องการวงเงินสินเชื่อรีไฟแนนซ์สูงกว่ายอดสินเชื่อคงเหลือเดิม ให้ลองยื่นเอกสารกับธนาคารเป้าหมายอย่างน้อย 3 แห่งขึ้นไป จากนั้นเลือกรีไฟแนนซ์กับธนาคารที่ให้วงเงินสูงที่สุด ภายใต้เงื่อนไขการผ่อนชำระและค่าธรรมเนียมที่ใกล้เคียงกัน

หลังจากผ่อนบ้านจนครบกำหนดเวลาขั้นต่ำตามสัญญาเงินกู้แล้ว เรามีโอกาสและมีสิทธิในการตัดสินใจในเรื่องการรีไฟแนนซ์ อย่างไรก็ตาม เราต้องเปรียบเทียบรายละเอียดเงื่อนไขต่าง ๆ ให้ดี เพราะไม่ได้มีแค่เรื่องของดอกเบี้ยที่ถูกลงเท่านั้น ยังมีเรื่องค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นซึ่งเราจะต้องคำนวณความคุ้มค่าก่อนตัดสินใจทุกครั้ง

แต่ถ้าคำนวณแล้วเงินที่ประหยัดดอกเบี้ยไปไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายหรือค่าเสียเวลา ก็ควรเลือกชำระเงินกู้กับธนาคารเดิมจนหมดสัญญาดีกว่า

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่นี่ คลิก