อัปเดตล่าสุด วันพระ 2567 ทำบุญ ทำทาน มีจิตเมตตา

วันพระ 2567

ปฏิทิน วันพระ 2567 หรือ 2024 ตรงกับวันที่เท่าไรบ้าง ให้วางแผนทำบุญกันได้ตลอดทั้งปี ทำบุญ ทำทาน มีจิตเมตตา

วันพระ 2567 อัปเดตล่าสุด

“วันพระ” หมายถึง วันประชุมถือศีลฟังธรรมในพุทธศาสนา ที่เกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากในสมัยพุทธกาลพระเจ้าพิมพิสารพระราชาแห่งแคว้นมคธ ได้ทราบเรื่องราวของนักบวชนอกศาสนาประชุมแสดงคำสอนตามความเชื่อทุกวัน 8 ค่ำ 14 ค่ำ และ 15 ค่ำ เพื่อให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาสืบเนื่องไปจึงทูลขอพุทธานุญาตจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตตามนั้น

ด้วยเหตุนี้ วันพระจึงมีอยู่ด้วยกันเดือนละ 4 วัน โดยถือกำหนดตามปฏิทินจันทรคติ ได้แก่

  • วันขึ้น 8 ค่ำ
  • วันขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ)
  • วันแรม 8 ค่ำ
  • วันแรม 15 ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม 14 ค่ำ)

พุทธศาสนิกชน จึงถือเอาวันนี้เป็นวันสำคัญ เป็นวันสิริมงคลที่ควรจะเข้าวัดไปทำบุญ ฟังธรรม หรือถือศีล งดเว้นจากการทำบาปทั้งปวง

วันพระ เดือนมกราคม 2567

วันพฤหัสบดีที่ 4 มกราคม 2567 แรม 8 ค่ำ เดือน 1

วันพุธที่ 10 มกราคม 2567 แรม 14 ค่ำ เดือน 1

วันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม 2567 ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 2

วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม 2567 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 2

วันพระ เดือนกุมภาพันธ์ 2567

วันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 แรม 8 ค่ำ เดือน 2

วันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 แรม 15 ค่ำ เดือน 2

วันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2567 ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 3

วันเสาร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 (วันมาฆบูชา)

วันพระ เดือนมีนาคม 2567

วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม 2567 แรม 8 ค่ำ เดือน 3

วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม 2567 แรม 15 ค่ำ เดือน 3

วันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม 2567 ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 4

วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2567 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4

วันพระ เดือนเมษายน 2567

วันจันทร์ที่ 1 เมษายน 2567 แรม 8 ค่ำ เดือน 4

วันจันทร์ที่ 8 เมษายน 2567 แรม 15 ค่ำ เดือน 4

วันอังคารที่ 16 เมษายน 2567 ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 5

วันอังคารที่ 23 เมษายน 2567 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5

วันพระ เดือนพฤษภาคม 2567

วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2567 แรม 8 ค่ำ เดือน 5

วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม 2567 แรม 14 ค่ำ เดือน 5

วันพุธที่ 15 พฤษภาคม 2567 ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6

วันพุธที่ 22 พฤษภาคม 2567 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 (วันวิสาขบูชา)

วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม 2567 แรม 8 ค่ำ เดือน 6 (วันอัฏฐมีบูชา)

วันพระ เดือนมิถุนายน 2567

วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน 2567 แรม 15 ค่ำ เดือน 6

วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน 2567 ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 7

วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน 2567 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7

วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน 2567 แรม 8 ค่ำ เดือน 7

วันพระ เดือนกรกฎาคม 2567

วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม 2567 แรม 14 ค่ำ เดือน 7

วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม 2567 ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 8

วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม 2567 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 (วันอาสาฬหบูชา)

วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม 2567 แรม 1 ค่ำ เดือน 8 (วันเข้าพรรษา)

วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม 2567 แรม 8 ค่ำ เดือน 8 

วันพระ เดือนสิงหาคม 2567

วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม 2567 แรม 15 ค่ำ เดือน 8

วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม 2567 ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 9

วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม 2567 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 9

วันอังคารที่ 27 สิงหาคม 2567 แรม 8 ค่ำ เดือน 9

วันพระ เดือนกันยายน 2567

วันจันทร์ที่ 2 กันยายน 2567 แรม 14 ค่ำ เดือน 9

วันอังคารที่ 10 กันยายน 2567 ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 10

วันอังคารที่ 17 กันยายน 2567 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10

วันพุธที่ 25 กันยายน 2567 แรม 8 ค่ำ เดือน 10

วันพระ เดือนตุลาคม 2567

วันพุธที่ 2 ตุลาคม 2567 แรม 15 ค่ำ เดือน 10

วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม 2567 ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 11

วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม 2567 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 (วันออกพรรษา)

วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2567 แรม 8 ค่ำ เดือน 11

วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม 2567 แรม 14 ค่ำ เดือน 11

วันพระ เดือนพฤศจิกายน

วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2567 ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 12

วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2567 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12

วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2567 แรม 8 ค่ำ เดือน 12

วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567 แรม 15 ค่ำ เดือน 12

วันพระ เดือนธันวาคม

วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม 2567 ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 1

วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม 2567 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 1

วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2567 แรม 8 ค่ำ เดือน 1

วันอาทิตย์ที่ 29 ธันวาคม 2567 แรม 14 ค่ำ เดือน1

การเตรียมตัวไปทำบุญ 2567

1.การเตรียมกาย ควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีขาว เรียบ หรือสีที่ไม่ฉูดฉาด ไม่หลวมไม่คับเกินไป เนื่องจากจะไม่คล่องตัว ไม่ประดับร่างกายด้วยเครื่องประดับ ไม่ใช้เครื่องประทินผิว เช่น น้ำหอม เป็นต้น รับประทานอาหารแต่พอดี ไม่อิ่มจนอึดอัด เพื่อประทังความหิว เนื่องจากหากมีอาการหิวกระหายจะทำให้จิตใจไม่สบายไปด้วย ควรงดเว้นอาหารที่อาจจะทำให้เกิดอาการท้องเสีย เป็นต้น

2. การเตรียมใจ ให้ตัดความวิตกกังวลที่จะเกิดขึ้น เช่น เรื่องครอบครัว เรื่องการงาน เป็นต้น

3.การเตรียมสิ่งของ ให้จัดเตรียมดอกไม้ ธูปเทียนเพื่อบูชาพระ อาหารหวานคาว รวมถึงสิ่งของอื่น ๆ (ปัจจัยไทยธรรม) เพื่อไปถวายพระสงฆ์ตามกำลังและความศรัทธา

ขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรม

การปฏิบัติกิจกรรมในการทำบุญของแต่ละวัดอาจจะแตกต่างกันในรายละเอียด แต่หลักปฏิบัติโดยส่วนใหญ่แล้วทุกวัดจะปฏิบัติเหมือนกัน คือ

1.การทำวัตรสวดมนต์ พระสงฆ์จะทำวัตรสวดมนต์ก่อน เมื่อพระสงฆ์ทำวัตรสวดมนต์จบแล้ว อุบาสก อุบาสิกาจึงทำวัตรสวดมนต์ต่อจากพระสงฆ์ บางวัดอาจจะสวดมนต์แปล แต่บางวัดอาจจะสวดมนต์เป็นภาษาบาลีล้วนๆ ไม่สวดแปล ให้ทำตามธรรมเนียมของวัดนั้นๆ

2. การรับศีล ในวันธรรมดาโดยทั่วไปจะสมาทานเบญจศีล (ศีล 5) ในวันธรรมสวนะ (วันพระ) จะสมาทานอุโบสถศีล (หรือศีลอุโบสถมี 8 ข้อ)

3. การฟังธรรม หลังจากสมาทานศีลจบแล้ว มรรคนายกจะเป็นผู้อาราธนาธรรม ผู้ที่ไปร่วมทำบุญทุกคนพึงนั่งประนมมือ ตั้งใจฟังธรรมอย่างสงบ ไม่พูดคุยกันขณะพระแสดงธรรม อันเป็นการแสดงความเคารพในพระธรรมและแสดงความเคารพต่อพระสงฆ์ผู้แสดงธรรมด้วย

4. การบำเพ็ญจิตภาวนา หลังจากพระสงฆ์แสดงธรรมจบแล้ว จะมีการปฏิบัติธรรมโดยการบำเพ็ญจิตภาวนาหรือนั่งสมาธิ เป็นเวลาประมาณ 5-10 นาที ซึ่งพระสงฆ์จะชี้แจงขั้นตอนการปฏิบัติต่างๆ ให้ทราบ ผู้ปฏิบัติธรรมพึงกระทำตามที่ท่านแนะนำ

5. การถวายสังฆทาน คือ การถวายทานแด่พระสงฆ์โดยไม่จำเพาะเจาะจงพระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง (หากเจาะจงพระสงฆ์จะไม่เป็นสังฆทาน)

ขอบคุณข้อมูลจาก Myhora และ PPTVHD

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่นี่ คลิก


𝐏𝐫𝐢𝐦𝐨 𝐒𝐞𝐫𝐯𝐢𝐜𝐞 𝐒𝐨𝐥𝐮𝐭𝐢𝐨𝐧𝐬

เป็นผู้นำในธุรกิจบริการด้านอสังหาริมทรัพย์สมัยใหม่แบบครบวงจรและกำกับดูแลกิจการในกลุ่มบริษัทในเครือ ให้พัฒนาและเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งพัฒนาและลงทุนในธุรกิจสมัยใหม่ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด

𝐒𝐮𝐩𝐞𝐫 𝐋𝐢𝐯𝐢𝐧𝐠 𝐒𝐞𝐫𝐯𝐢𝐜𝐞𝐬, 𝐇𝐚𝐩𝐩𝐲 𝐌𝐚𝐤𝐞𝐫

Tel : 02-0810000

Website: https://primo.co.th/

Line : https://lin.ee/Jt3nhkF