นิติบุคคลคืออะไร
“นิติบุคคล” สิ่งที่สำคัญในการรับผิดชอบทางกฎหมาย ที่ควรศึกษาทั้งฟ้องร้องและถูกฟ้อง
หลายคนมีความสงสัยกันมากว่านิติบุคคลคืออะไร ทำไมมีแต่คนพูดถึงกันเยอะมาก โดยกลุ่มนี้มีความสำคัญต่อการฟ้องร้องและร้องเรียนมากมาย ซึ่งนิติบุคคลคือบริษัทหรือองค์กรใดๆ ที่มีสิทธิ์และความรับผิดชอบตามกฎหมาย รวมถึงการยื่นภาษี เป็นธุรกิจที่สามารถทำสัญญาไม่ว่าจะเป็นผู้ขายหรือซัพพลายเออร์และสามารถฟ้องหรือถูกฟ้องร้องในศาลได้ แต่ก็มีข้อแตกต่างระหว่างรูปแบบนี้กับบริษัทชัดเจนตรงที่นิติบุคคลคือองค์กรที่มีโครงสร้างทางกฎหมายที่จดทะเบียนหรือถูกกฎหมาย สามารถทำสัญญาทางกฎหมายได้และจำเป็นต้องจัดทำแถลงการณ์ที่รายงานผลการปฏิบัติงานทุกอย่างที่เกี่ยวข้องอย่างมีระบบ ส่วนบริษัทเป็นหนึ่งในการดำเนินการที่มากกว่า 2 คนขึ้นไปประเภทหนึ่งเท่านั้น
ประเภทของนิติบุคคลที่เห็นได้บ่อยในประเทศไทย ซึ่งให้ขอบเขตของงานออกมาชัดเจน รวมถึงขอบเขตของข้อกฎหมายที่ควรรู้มากมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ และส่งผลต่อผลประโยชน์ของแต่ละฝ่ายในทางคดีความมากพอสมควร โดยจะขอแบ่งประเภทของนิติบุคคลออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
- นิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ : ตั้งแต่ข้อแรกนั้นก็สำคัญมาก ในทางกฎหมายได้บัญญัตินิติบุคคลประเภทเหล่านี้เอาไว้หลายประเภท ได้แก่
- แบบแสวงหากำไร : จะระบุว่าทำเพื่อด้านนี้ มีพันธกิจชัดเจน กลุ่มของห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด ในทางกฎหมายจะถูกจัดให้เป็นนิติบุคคล ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อทางธุรกิจ ประโยชน์ในการดำเนินกิจการ
- แบบไม่แสวงหาผลกำไร : ในกลุ่มนี้มักนึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าแบบแรก เช่น มูลนิธิ สมาคม จะมุ่งหวังในด้านพันธกิจองค์กรมากกว่าที่จะเน้นสร้างกำไร อีกทั้งไม่ต้องร่างสัญญา จะเน้นการมีส่วนร่วมของที่อื่นเข้ามาด้วย
- นิติบุคคลตามกฎหมายอื่นที่บัญญัติ : ในกลุ่มนี้จะเน้นทำกิจกรรมอื่นร่วมด้วย หรือที่เดียวแต่ใช้มากกว่า 2 กิจกรรมขึ้นไป เช่น วัด (โบสถ์ มัสยิดอยู่ในกลุ่มนี้เช่นกัน) จังหวัด (อาจจะรวมถึง อบต.และ อบจ.) กระทรวง (กระทรวงภาครัฐ) ทบวง กรม รวมถึงองค์การมหาชนที่อยู่ในสถานะโดยตรง
หากธุรกิจที่ทำไม่ได้อยู่ในสถานะเป็นนิติบุคคล หรือดำเนินการแยกต่างหากในฐานะกิจการคนเดียว หมายความว่าธุรกิจนั้นมีสิทธิ์ทางกฎหมายบางอย่างในฐานะบุคคลธรรมดา สามารถเข้าทำสัญญา ฟ้องร้อง และเป็นเจ้าของทรัพย์สินได้ ผู้ค้าหรือห้างหุ้นส่วน แต่เพียงผู้เดียวไม่มีสิทธิ์ในกิจการดำเนินคนเดียว
สิ่งที่ควรรู้ก่อนขึ้นทะเบียนเป็น “นิติบุคคล”
การขึ้นทะเบียนนั้น หากเป็นธุรกิจ จะต้องขึ้นทะเบียนในฐานะธุรกิจเดี่ยวๆ ก่อน และจะเปลี่ยนสถานะธุรกิจให้เป็นนิติบุคคล เพื่อที่จะเปลี่ยนรูปแบบการเสียภาษีให้เป็นรูปแบบนิติบุคคล เพียงแต่จะต้องมีผู้ร่วมดำเนินการ 2 คนขึ้นไป เพื่อแบ่งกำไรและความสามารถตามวัตถุประสงค์ได้ โดยจะอธิบายเพิ่มเติมได้ว่า
- ต้องดูในสัญญาว่ามันเป็นหุ้นส่วนจำกัดหรือหุ้นส่วนไม่จำกัด เนื่องจากมันมีขอบเขตของความเป็นหุ้นส่วนค่อนข้างมาก รวมถึงส่งผลต่อผลประโยชน์ หากทำแบบหุ้นส่วนจำกัด จะปลอดภัยกว่าหุ้นส่วนไม่จำกัด เนื่องจากรับผิดชอบในส่วนของตนเองที่ร่วมหุ้นเท่านั้น
- มีจำนวน 2 คนขึ้นไปหรือไม่
- เมื่อขึ้นทะเบียนแล้ว จะต้องดำเนินการส่งงบทางการเงินตามกฎหมาย เพื่อป้องกันข้อผิดพลาด รวมถึงการเสียภาษีในฐานะห้างหุ้นส่วนจำกัด โดยการเสียภาษีประเภทนิติบุคคล
เรื่องของนิติบุคคลก็เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายธุรกิจ ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะมีข้อบัญญัติออกมามากมาย รวมถึงข้อสัญญาต่างๆ หากคิดจะตั้งบริษัทของตนเอง จะต้องศึกษาข้อนี้ให้ละเอียด เนื่องจากมีข้อกฎหมายในด้านภาษี และการทำบัญชี จะเห็นได้ว่าที่มีการล้มละลายอยู่บ่อยๆ ส่วนหนึ่งมาจากการขาดสภาพคล่องและการเลี่ยงภาษี ซึ่งมีการคิดภาษีย้อนหลังตั้งแต่ยังไม่ได้ชำระ หรือขึ้นทะเบียนตามกฎหมาย จึงส่งผลกระทบในระยะยาวตามมา การก่อตั้งบริษัทเป็นนิติบุคคลรูปแบบหนึ่งที่จัดตั้งขึ้นโดยกลุ่มบุคคลเพื่อเข้าร่วม และดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะในทางเชิงพาณิชย์ อุตสาหกรรม องค์กร บริษัทอาจได้รับการจัดตั้งขึ้นในรูปแบบต่างๆ เพื่อวัตถุประสงค์ด้านภาษีและความรับผิดทางการเงิน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกฎหมายของบริษัทในเขตอำนาจศาลที่จะพิจารณาเป็นรายกรณีศึกษาไป อย่าลืมว่าการเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวเป็นรูปแบบธุรกิจที่ง่ายที่สุด และเป็นระบบที่เก่าแก่ที่สุดที่บุคคลสามารถดำเนินธุรกิจได้ ดำเนินกิจการและรับความเสี่ยงด้วยตนเอง ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนในรูปแบบนี้ จึงไม่ถือว่าเป็นนิติบุคคล ซึ่งจะต้องคำนวณข้อนี้ก่อนเสมอ
นิติบุคคลคอนโดคืออะไร
นิติบุคคลคอนโดคือกลุ่มบุคคลจากบริษัทที่ได้รับการว่าจ้างให้ดูแลจัดการทรัพย์สินส่วนกลางของคอนโดมิเนียม โดยจะทำการดูแลงานที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุดซึ่งเป็นผู้ออกกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ ทำให้แต่ละคอนโดมิเนียมจะมีระบบการดูแลทรัพย์ส่วนกลางที่แตกต่างกันออกไป
หน้าที่ของผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด
- จัดการเรื่องต่างๆ และดูแลทรัพย์ส่วนกลางให้อยู่ในสภาพปกติเรียบร้อยพร้อมใช้งานตลอดเวลา และเพื่อประโยชน์ของเจ้าของร่วม
- จัดซื้อ/จัดหา ทรัพย์สินตลอดจนจัดให้มีบริการด้านสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ แก่เจ้าของร่วม ในอาคารชุด ภายใต้ระเบียบที่ออกโดยคณะกรรมการอาคารชุด
- เรียกเก็บ “เงินกองทุน” และ “ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง” จากเจ้าของร่วม เพื่อนำมาใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาซ่อมแซมระบบสาธารณูปโภคส่วนกลาง รวมทั้งทรัพย์ส่วนกลาง และการให้บริการอื่นๆ ในอาคารชุด
- จัดประชุมตามวาระต่างๆ และดำเนินการตามมติของที่ประชุมใหญ่ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุด รวมถึงติดตามงานต่างๆตามข้อบังคับในทางกฎหมาย
- ควบคุมดูแลการใช้ประโยชน์ทั้งภายในห้องชุด และการใช้สิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางของเจ้าของร่วมและผู้อยู่อาศัยให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติอาคารชุด ข้อบังคับและระเบียบของนิติบุคคลอาคารชุด ทั้งที่มีอยู่แล้วและที่จะมีในอนาคต
- เป็นผู้แทนของนิติบุคคลอาคารชุด ภายในขอบเขตของพระราชบัญญัติอาคารชุด ข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุด หรือมติที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วม รวมทั้งมีอำนาจในการติดตาม ทวงหนี้ ฟ้องร้อง บังคับคดี เป็นต้น
- สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นกระทำการแทนตนเองได้ ในเรื่องต่าง ๆ ตามข้อ 6. แต่ต้องแจ้งหรือปรึกษาหารือต่อคณะกรรมการอาคารชุดก่อนการดำเนินการ
- ในกรณีเร่งด่วน มีอำนาจจัดการในเรื่องความปลอดภัยของอาคาร และมีอำนาจกระทำการใด ๆ ได้ดังเช่นวิญญูชนจะพึงรักษา และจัดการทรัพย์สินของตนเอง
- กำหนดระเบียบของนิติบุคคลอาคารชุด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ โดยไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติอาคารชุดและ ข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุด
𝐏𝐫𝐢𝐦𝐨 𝐌𝐚𝐧𝐚𝐠𝐞𝐦𝐞𝐧𝐭 ผู้นำธุรกิจการบริการดูแลและบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ บริหารอาคารชุด | หมู่บ้านจัดสรร |อาคารสำนักงาน ให้คุณสัมผัสประสบการณ์การใช้ชีวิตแบบที่ใช่ 𝐂𝐨𝐧𝐭𝐚𝐜𝐭 📞 092 2828 749 ID Line : primo01 📩 [email protected] #propertymanagement #รักษาความปลอดภัย #รปภ #นิติบุคคล #บริหารงานคอนโด #บริหารงานอาคารชุด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก genie-property.com, dotproperty.co.th