ชีวิตคนในเมืองมักจะไม่ได้กินอาหารเช้า เพราะความเร่งรีบ คุณเคยสังเกตตัวเองไหมว่า การไม่ได้กินอาหารเช้า ในวันนั้นคุณรู้สึกว่าตัวเองจะหงุดหงิดเป็นพิเศษและอารมณ์จะอ่อนไหวง่าย
นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน พบว่า คนที่กินอาหารเช้าน้อยเท่าไรยิ่งเกิดความเครียดได้มากเท่านั้น และอารมณ์จะอ่อนไหวง่าย หงุดหงิดง่าย ในทำนองเดียวกันหากคุณกินอาหารมื้อกลางวันที่ให้พลังงานน้อย ก็จะมีผลเช่นเดียวกัน ซึ่งจากการศึกษาพบว่า อาหารที่กินเข้าไปมีผลต่ออารมณ์และความเครียด
เขาได้ทำการศึกษาโดยแบ่งคนออกเป็น ๒ กลุ่ม กลุ่มแรกให้กินอาหารเช้าและกลางวันตามปกติ ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งจะให้กินอาหารที่มีพลังงานต่อมื้อต่ำ เขาพบว่า มีความแตกต่างกันเล็กน้อยในเรื่องอารมณ์ แต่กลุ่มที่ได้รับพลังงานต่ำจะเกิดความเครียดขึ้นมีความกระวนกระวายและมีความอดทนน้อยลงในการทำงาน
ส่วนที่อังกฤษเขาได้แสดงผลการศึกษาการกินอาหารเช้าที่มีไขมันมากว่า จะทำให้สมองทำงานช้าลง เฉื่อย ล้า ขาดความคิดสร้างสรรค์ และมีความเพ้อฝันมากขึ้น University of Sheffield ได้ตรวจสอบ พบว่า ในกระบวนการย่อยไขมันจะไปลดความกระฉับกระเฉง ความคล่องแคล่วว่องไว และความละเอียดลออลง
ในบทความดังกล่าวยังได้เปรียบเทียบความสำคัญของอาหารแต่ละมื้อว่า อาหารเช้าเปรียบเหมือนพระราชา อาหารกลางวันเปรียบเหมือนพระราชินี ส่วนอาหารมื้อค่ำเปรียบเหมือนยาจก ใครจะเน้นหนักมื้อไหนก็คิดดูเอาเอง
ขอบคุณบทความจาก สสส
พรีโม แมเนจเม้นท์ รับบริหารอาคารชุด บริหารงานนิติบุคคลอาคารชุด พร้อมช่างอาคาร นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร บริการงานรักษาความสะอาด และบริการรักษาความปลอดภัย