หน้าที่ นิติบุคคลอาคารชุด ในการตรวจสอบอาคาร

นิติบุคคลอาคารชุด

นิติบุคคลนั้นมีหน้าที่หลากหลายอย่างมาก อีกหนึ่งหน้าที่ ที่นิติบุคคลต้องดู นั้นก็คือ การตรวจสอบอาคาร วันนี้เราเลยได้รวบรวม หน้าที่ นิติบุคคลอาคารชุด ในการตรวจสอบอาคาร มาฝาก

หน้าที่ นิติบุคคลอาคารชุด ในการตรวจสอบอาคาร การตรวจสอบอาคารนิตินั้นตรวจสอบอะไรบ้าง

ปัจจุบันกระทรวงมหาดไทยมีการกำหนดหลักเกณฑ์การตรวจสอบอาคาร แบ่งเป็น 4 ส่วนหลักๆ ด้วยกัน คือ

การตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร

  • การต่อเติมดัดแปลงปรับปรุงตัวอาคาร
  • การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักบรรทุกบนพื้นอาคาร
  • การเปลี่ยนสภาพการใช้อาคาร
  • การเปลี่ยนแปลงวัสดุก่อสร้างหรือวัสดุตกแต่งอาคาร
  • การชำรุดสึกหรอของอาคาร
  • การวิบัติของโครงสร้างอาคาร
  • การทรุดตัวของฐานรากอาคาร

การตรวจสอบระบบและอุปกรณ์ประกอบของอาคาร

การตรวจสอบระบบบริการและอำนวยความสะดวก

  • ระบบลิฟต์
  • ระบบบันไดเลื่อน
  • ระบบไฟฟ้า
  • ระบบปรับอากาศ

การตรวจสอบระบบสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม

  • ระบบประปา
  • ระบบระบายน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย
  • ระบบระบายน้ำฝน
  • ระบบจัดการมูลฝอย
  • ระบบระบายอากาศ
  • ระบบควบคุมมลพิษทางอากาศและเสียง

การตรวจสอบระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย

  • บันไดหนีไฟและทางหนีไฟ
  • เครื่องหมายและไฟป้ายทางออกฉุกเฉิน
  • ระบบระบายควันและควบคุมการแพร่กระจายควัน
  • ระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน
  • ระบบลิฟต์ดับเพลิง
  • ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้
  • ระบบการติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง
  • ระบบการจ่ายน้ำดับเพลิง เครื่องสูบน้ำดับเพลิง และหัวฉีดน้ำดับเพลิง
  • ระบบดับเพลิงอัตโนมัติ
  • ระบบป้องกันฟ้าผ่า

การตรวจสอบสมรรถนะของระบบและอุปกรณ์ต่าง ๆ ของอาคารเพื่ออพยพผู้ใช้อาคาร

  • สมรรถนะบันไดหนีไฟและทางหนีไฟ
  • สมรรถนะเครื่องหมายและไฟป้ายทางออกฉุกเฉิน
  • สมรรถนะระบบแจ้งสัญญาณเหตุเพลิงไหม้

การตรวจสอบระบบบริหารจัดการความปลอดภัยในอาคาร

  • แผนการป้องกันและระงับอัคคีภัยในอาคาร
  • แผนการซ้อมอพยพผู้ใช้อาคาร
  • แผนการบริหารจัดการเกี่ยวกับความปลอดภัยในอาคาร
  • แผนการบริหารจัดการของผู้ตรวจสอบอาคาร

แล้วเรานั้นต้องเริ่มการตรวจสอบอาคารอย่างไร

1. จัดหาผู้ตรวจสอบอาคารมาตรวจสอบอาคาร โดยต้องเป็นผู้ตรวจสอบอาคารที่ผ่านการขึ้นทะเบียนกับกรมโยธาธิการและผังเมือง

2. จัดหาหรือทำแบบแปลน เพื่อใช้สำหรับการตรวจสอบอาคารเก็บเอาไว้ที่อาคาร นำมาประกอบการตรวจสอบอาคารได้ โดยแปลนพื้นทุกชั้นจะต้องแสดงตำแหน่งของอุปกรณ์ดับเพลิง เส้นทาง หนีไฟ และบันไดหนีไฟ

3. ผู้ตรวจสอบจะทำการตรวจแบบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง อาทิ รายงานการตรวจบำรุงรักษาอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารที่ผ่านมา จากนั้นจึงเข้าไปตรวจสอบอาคารตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด

4. จากนั้นผู้ตรวจสอบอาคารจัดทำรายงานผลการตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารที่ได้ตรวจสอบให้กับเจ้าของอาคาร หากว่าผู้ตรวจสอบอาคารไม่สามารถสรุปผลการตรวจอาคารในส่วนใดส่วนหนึ่งได้ จะต้องจัดหาผู้ประกอบวิชาชีพ เฉพาะสาขามาตรวจสอบเพิ่มเติม

5. หากผู้ตรวจสอบอาคาร ประเมินแล้วว่าอาคารมีความ ปลอดภัย ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด จะทำการรับรองรายงานผลการตรวจสอบ แต่หากว่าอาคาร ดังกล่าวไม่ผ่านมาตรฐานความปลอดภัยผู้ตรวจสอบจะแจ้งให้ เจ้าของอาคารหรือผู้ดูแลอาคาร แก้ไขปรับปรุงตามรายการ

6. เจ้าของอาคารต้องปฎิบัติตามแผนการตรวจบำรุงรักษาอาคาร อุปกรณ์ประกอบของอาคาร และคู่มือปฎิบัติตามแผนที่ผู้ตรวจสอบได้จัดทำไว้ เพื่อเป็นแนวทางในการตรวจบำรุงรักษาและบันทึกข้อมูล

7. เจ้าของอาคารต้องเสนอรายงานการตรวจสอบอาคาร และอุปกรณ์ประกอบของอาคารต่อพนักงานท้องถิ่นทุกปี โดยนำส่งรายงานภายใน 30 วัน ก่อนวันที่ใบรับรองการตรวจสอบอาคารฉบับเดิมจะมีระยะเวลาครบ 1 ปี

8. เมื่อได้รับใบรับรองการตรวจสอบแล้ว ให้แสดงใบรับรองการตรวจสอบไว้ในที่เปิดเผย เห็นได้ง่าย ณ อาคารนั้น


เอกสารที่เกี่ยวข้องเกี่ยวประกอบกับการตรวจสอบอาคาร

1.ข้อมูลทั่วไปของอาคาร เช่น ชื่ออาคารและสถานที่ตั้ง ประวัติอาคาร ระบบต่างๆ ภายในอาคาร เป็นต้น

2.เอกสารที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ใบอนุญาตก่อสร้าง ใบรับรอง การก่อสร้าง (อ.6) หรือเอกสารทางราชการที่แสดงว่าได้รับอนุญาต ให้ก่อสร้างอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และทดสอบสมรรถนะของระบบ อุปกรณ์ต่างๆ

3.แบบแปลนอาคาร เพื่อตรวจสอบตามลักษณะของอาคาร ตามที่เป็นจริง โดยเจ้าของอาคารเป็นผู้จัดหาอย่างน้อยต้องประกอบด้วยแปลนพื้นทุกชั้น โดยต้องแสดงตำแหน่งและมิติของห้องต่างๆ ลักษณะประเภทการใช้สอยหรือการประกอบกิจกรรมของอาคาร บริเวณที่ติดตั้งระบบอุปกรณ์ด้านการป้องกันและระงับอัคคีภัย ตำแหน่งของเส้นทางหนีไฟ บันไดหนีไฟ ลิฟต์ ห้องควบคุมระบบ อุปกรณ์ต่างๆ ท่ีเกี่ยวข้องด้านความปลอดภัยของอาคาร และมีการลงนามโดยเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร เพื่อรับรองว่าเป็นแบบแปลนตามข้อเท็จจริงของอาคาร ณ วัน เวลาที่ตรวจสอบ

4.เอกสารคู่มือสำหรับการตรวจสอบอาคาร เช่น เช็กลิสต์ กฎกระทรวงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง มาตรฐานกรมโยธาธิการและผังเมือง และมาตรฐานความปลอดภัยของสถาบันของทางราชการ สภาวิศวกร หรือสถาปนิก


อ่านบทความเพิ่มเติม คลิก

𝐏𝐌𝐌 𝐏𝐫𝐨𝐩𝐞𝐫𝐭𝐲 𝐌𝐚𝐧𝐚𝐠𝐞𝐦𝐞𝐧𝐭 ผู้นำธุรกิจการบริการดูแลและบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ บริหารอาคารชุด | หมู่บ้านจัดสรร |อาคารสำนักงาน ให้คุณสัมผัสประสบการณ์การใช้ชีวิตแบบที่ใช่ ✅บริหารสิ่งแวดล้อมภายในคอนโดสวยงามอยู่เสมอ ✅บริหารคุณภาพระบบความปลอดภัย ระบบไฟฟ้า/น้ำ ✅พร้อมสร้างประสบการณ์อันดีให้กับลูกบ้าน ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสร้าง Community ที่ดีภายในโครงการ ✅ดูแลรายละเอียดด้านการเงิน โปร่งใส ตรวจสอบได้ ✅อำนวยความสะดวกด้วยบริการของเรา พัสดุ ข่าวสาร 𝐂𝐨𝐧𝐭𝐚𝐜𝐭 📞 Tel : 02-0810000 Line : https://lin.ee/Hra1qqu 📱 Primo Plus : https://apple.co/495d6mU 📩 [email protected].