โฉนดที่ดินหาย ทำอย่างไร ? อัพเดตปี 2566

โฉนดที่ดินหาย

โฉนดที่ดิน คือเอกสารแสดงความเป็นกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เจ้าของจำเป็นต้องเก็บรักษาไว้ให้ดี แต่ถ้าหากใครทำ โฉนดที่ดินหาย ไปแล้วก็อย่าเพิ่งกังวลไป เพราะ PRI มีวิธีแก้ไขปัญหานี้ให้คลี่คลายได้ง่ายๆ นำมาเป็นความรู้ให้ทุกคนได้รับทราบกันในบทความนี้

โฉนดที่ดิน คือ ?

โฉนดที่ดิน คือหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่งออกให้ตามประมวลกฎหมายที่ดินปัจจุบัน นอกจากนี้ยังรวมถึงโฉนดแผนที่ โฉนดตราจอง และตราจองที่ว่า “ได้ทำประโยชน์แล้ว” ซึ่งออกให้ตามกฎหมายเก่า แต่ก็ถือว่ามีกรรมสิทธิ์เช่นกัน ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน ถือว่ามีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นอย่างสมบูรณ์เช่น มีสิทธิใช้ประโยชน์จากที่ดิน มีสิทธิจำหน่าย มีสิทธิขัดขวางไม่ให้ผู้ใดเข้ามาเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินโดยมิชอบด้วยกฎหม

ประโยชน์ของโฉนดที่ดิน

  • ทำให้ผู้ครอบครองที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย ได้มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินยึดถือไว้เป็นหลักฐาน
  • ทำให้เกิดความมั่นคงในหลักกรรมสิทธิ์แก่ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน
  • ใช้เป็นหลักฐานในการพิสูจน์สิทธิในที่ดินของตนทั้งต่อรัฐและในระหว่างเอกชนด้วยกัน
  • ทำให้รู้ตำแหน่งแหล่งที่ตั้ง ตลอดจนขอบเขตและจำนวนเนื้อที่ของที่ดินแต่ละแปลงได้ถูกต้อง
  • ทำให้สามารถป้องกันการบุกรุกขยายเขตครอบครองเข้าไปในที่ดินของรัฐ ซึ่งเป็นที่รกร้างว่างเปล่า ที่สงวนหวงห้าม ที่สาธารณประโยชน์ และที่ดินที่ทางราชการได้กันไว้เป็นเขตป่าไม้
  • ทำให้สามารถระงับการทะเลาะวิวาท การโต้แย้ง หรือแย่งสิทธิในที่ดินหรือการรุกล้ำแนวเขตที่ดินซึ่งกันและกัน
  • ทำให้ปัจจัยพื้นฐานในการผลิตทางเศรษฐกิจ มีความมั่นคงและมีผลเป็นการลดต้นทุนการผลิตด้วย
  • ทำให้เกิดความรักและความห่วงแหนที่ดินของตน มีแรงจูงใจที่จะปรับปรุงและพัฒนาที่ดินของตนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  • ใช้เป็นหลักฐานแสดงทุนทรัพย์หรือหลักประกันในการขอสินเชื่อ และกู้ยืมเงินเพื่อนำมาใช้เป็นทุนในการเพิ่มกำลังการผลิตและรายได้เพื่อยกฐานะความเป็นอยู่ให้สูงขึ้น
  • ใช้เป็นหลักทรัพย์ในการค้ำประกันบุคคลเข้าทำงาน ประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาล ฯลฯ
  • การตรวจสอบหลักฐานสำหรับที่ดิน สำหรับที่ดินที่เป็นโฉนดกระทำได้โดยสะดวกรวดเร็วเป็นประโยชน์แก่บุคคลที่ประสงค์จะจำหน่าย จ่าย โอน เนื่องจากการโอนที่ดินที่มีโฉนดที่ดินไม่ต้องประกาศ เว้นแต่มรดก
  • การทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน หรือมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์
  • การทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน เช่น การนำที่ดินไปซื้อขาย ยกให้ แลกเปลี่ยน จำนอง ขายฝาก ฯลฯ จะต้องนำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดินที่ที่ดินตั้งอยู่
  • การทำนิติกรรมเกี่ยวกับทีดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓ น.ส.๓ ก. น.ส.๓ ข) จะต้องนำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดินอำเภอที่ที่ดินตั้งอยู่ การทำนิติกรรมนั้น จึงจะมีผลตามกฎหมาย เว้นแต่ได้ยกเลิกอำนาจนายอำเภอเกี่ยวกับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม จะต้องไปจดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดินที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่

โฉนดที่ดินหาย ทำอย่างไร ?

1.การไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ที่ กรมที่ดิน ลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน เพื่อแสดงเจตนาบริสุทธิ์ ไปขอออกโฉนดใหม่ ไม่ได้มีเจตนาทำการทุจริต ไม่ได้นำโฉนดไป จำนอง ขาย หรือแลกเปลี่ยนเป็นของผู้อื่น

2.หลังจากแจ้งความ นำบันทึกประจำวันที่ได้รับ มาติดต่อกับสำนักงานที่ดิน เพื่อขอออกโฉนดที่ดินใหม่ ซึ่งหากภายหลังมีการทุจริตเกิดขึ้นจริงบันทึกประจำวันนี้จะเป็นหลักฐานนำไปสู่คดีทางอาญาที่มีโทษร้ายแรงได้

3.การขอมีโฉนดใหม่ ต้องมีพยานรับรอง 2 คน พยาน และทั้ง 2 คน ต้องนำบัตรประชาชนตัวจริงไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่สำนักงานที่ดิน กรอกเอกสารรับรอง ลงลายมือชื่อ ต่อหน้าเจ้าพนักงาน เพื่อรองรับเจ้าของที่ดินว่าการขอออกโฉนดที่ดินใหม่เป็นเรื่องจริง ซึ่งหากมีปัญหาภายหลังพยานทั้ง 2 คนจะต้องเป็นพยานในชั้นศาลด้วย ดำเนินการขอออกโฉนดใหม่หรือใบแทนหนังสือแสดงสิทธิ์ในที่ดินได้ที่สำนักงานที่ดิน

เอกสาร หรือ หลักฐาน เพื่อขอออกโฉนดใหม่ หรือ ใบแทน

  • บัตรประจำตัวประชาชนผู้ขอ
  • ทะเบียนบ้าน
  • พยาน พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน (ตัวจริง) อย่างน้อย 2 คน
  • ใบแจ้งความ หรือใบลงบันทึกประจำวัน

ค่าใช้จ่ายในการออกใบแทน หรือ โฉนดใหม่

ประมาณ 70-100 บาท หรือในการยื่นคำร้อง และ ติดต่อขอออก “ใบแทน” นั้นทาง “สำนักงานกรมที่ดิน” ได้ทำการกำหนดค่าใช้จ่ายในแต่ละรายการไว้ดังนี้ค่ะ

  • ค่าคำขอแปลงละ 5 บาท
  • ค่าประกาศแปลงละ 10 บาท (กรณีที่ต้องมีการประกาศ)
  • ค่าปิดประกาศให้แก่ผู้ปิดประกาศ แปลงละ 10 บาท
  • ค่าออกใบแทนโฉนดที่ดินฉบับละ 50 บาท
  • ค่าออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ฉบับละ 50 บาท
  • ค่ามอบอำนาจ กรณีที่มีการมอบอำนาจ เรื่องละ 20 บาท
  • ค่าอากรแสตมป์ปิดใบมอบอำนาจ ฉบับละ 30 บาท
  • ค่าคำขอแปลงละ 5 บาท
  • ค่าประกาศแปลงละ 10 บาท (กรณีที่ต้องมีการประกาศ)
  • ค่าปิดประกาศให้แก่ผู้ปิดประกาศ แปลงละ 10 บาท
  • ค่าออกใบแทนโฉนดที่ดินฉบับละ 50 บาท
  • ค่าออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ฉบับละ 50 บาท
  • ค่ามอบอำนาจ กรณีที่มีการมอบอำนาจ เรื่องละ 20 บาท
  • ค่าอากรแสตมป์ปิดใบมอบอำนาจ ฉบับละ 30 บาท​

เก็บโฉนดที่ดินอย่างไรให้ปลอดภัย

หากไม่อยากทำเอกสารสำคัญสูญหายหรือเสียหาย ก็ต้องเก็บให้ดี ซึ่งเรามีวิธีการเก็บง่ายๆมาแนะนำดังนี้

  1. ใส่ซองกระดาษหรือซองพลาสติกให้เรียบร้อย โดยควรเป็นซองแบบที่มีด้ายมัดล็อกหรือสามารถปิดซองได้สนิท เพื่อป้องกันไม่ให้โฉนดเสียหาย
  2. เจ้าของโฉนดควรเก็บโฉนดด้วยตนเอง ไม่ควรฝากผู้อื่นเก็บ และไม่ควรบอกที่เก็บโฉนดแก่ผู้อื่น เพื่อป้องกันไม่ให้โฉนดหลุดไปถึงมือมิจฉาชีพจนนำไปแอบอ้าง ปลอมแปลง หรือทำอะไรผิดกฎหมายได้
  3. ควรแยกโฉนดเก็บไว้ในส่วนสำหรับเก็บเอกสารสำคัญโดยเฉพาะ ควรเป็นที่ที่มิดชิด ไม่ควรนำไปเก็บรวมกับหนังสือหรือของอื่นๆ เพราะเสี่ยงที่จะทำยับ ทำหล่นหาย หรือเผลอหยิบทิ้งไปโดยไม่รู้ตัว
  4. เก็บโฉนดที่ไหนแล้่วให้เก็บที่เดิมเสมอ อย่าวางไว้เรี่ยราด อย่าเปลี่ยนที่เก็บไปมา เพราะสุดท้ายแล้วจะหาไม่เจอ
  5. หลีกเลี่ยงการเผยแพร่ภาพโฉนดที่ดิน เพราะอาจถูกมิจฉาชีพขโมยข้อมูลไปทำเรื่องไม่ดีได้

สามารถอ่านบทความดีๆ ได้ที่ PRI