ค่า Ft คือ อะไร และจ่ายทำไม ? อัพเดท 2566

ค่า Ft คือ

หลาย ๆ คน น่าจะ งงๆ กัน เมื่อเปิดบิลค่าไฟฟ้าขึ้นมาเพราะมี ค่า FT เพิ่มขึ้นมากนอกจากค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ทำให้ค่าไฟฟ้าของบ้านเรานั้นพุ่งขึ้นมา จนน่าสงสัยว่า ค่า FT คือ อะไร ? วันนี้เรามีคำตอบ

ค่า FT คือ ?

ค่า Ft คือ Fuel Adjustment Charge (at the given time) หรือ Fuel Adjustment Charge (FAC) เป็นค่าธรรมเนียมที่เพิ่มในบิลของลูกค้าเพื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงต้นทุนเชื้อเพลิงสำหรับผู้ให้บริการไฟฟ้าหรือก๊าซธรรมชาติ เป็นค่าใช้จ่ายผันแปรที่เปลี่ยนแปลงเป็นประจำและมีวัตถุประสงค์เพื่อสะท้อนต้นทุนเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าหรือก๊าซธรรมชาติที่ผันผวน

บริษัทไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติใช้แหล่งเชื้อเพลิงที่หลากหลายเพื่อผลิตพลังงาน เช่น ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และทรัพยากรหมุนเวียน เช่น พลังงานลมและแสงอาทิตย์ ต้นทุนของเชื้อเพลิงเหล่านี้อาจแตกต่างกันไปตามปัจจัยต่างๆ เช่น อุปสงค์และอุปทาน สภาวะตลาดโลก และรูปแบบสภาพอากาศ ค่าธรรมเนียมการปรับเชื้อเพลิงเป็นวิธีที่บริษัทต่างๆ ส่งต่อต้นทุนเหล่านี้ไปยังผู้บริโภคโดยไม่ต้องปรับอัตราฐานอย่างต่อเนื่อง

โดยทั่วไป ค่าธรรมเนียมการปรับเชื้อเพลิงจะแสดงเป็นรายการแยกต่างหากในใบเรียกเก็บเงินของลูกค้า พร้อมด้วยค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่นๆ จำนวนเงินที่เรียกเก็บอาจแตกต่างกันไปในแต่ละเดือน และอาจได้รับผลกระทบจากหลายปัจจัย รวมถึงต้นทุนเชื้อเพลิง ปริมาณพลังงานที่ใช้ และประสิทธิภาพของโรงงานผลิตของบริษัท

ทำไม ต้องมี ค่า FT ในบิลค่าใช้ไฟฟ้า

ค่า FT คือ และ ทำไมต้องมี เนื่องจากตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548 เป็นต้นมา ได้มีการเปลี่ยนแปลงปัจจัยที่ใช้ในการคำนวณสูตร Ft ให้คงเหลือเพียง ต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. และค่าซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตเอกชนและประเทศเพื่อนบ้าน เท่านั้นที่ กฟผ.ไม่สามารถควบคุมได้  และสามารถนำไปคำนวณในสูตร Ft

ดังนั้น สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จึงได้ประสานงานกับการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง เพื่อเปลี่ยนคำย่อของค่า Ft ให้สอดคล้องกับสูตรปัจจุบัน ดังนี้

ค่าไฟฟ้า = ค่าไฟฟ้าฐาน + ค่า Ft + ภาษีมูลค่าเพิ่ม

(ค่าไฟฟ้าฐาน = (จำนวนยูนิต X อัตราค่ากระแสไฟฟ้าต่อหน่วย)+ค่าบริการ)

ค่า FT จึงเป็นกลไกกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ ซึ่งมีการปรับทุกๆ 4 เดือน เพื่อสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่เปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยต่างๆ ตามที่ได้กล่าวไป

ค่าไฟคิดอย่างไร ?

ค่าไฟ 1 บิลคิดคำนวณจาก 4 ก้อนหลักๆ คือ

  1. ค่าไฟฟ้าฐาน : ค่าโครงสร้างพื้นฐานโรงไฟฟ้า ระบบสายส่ง ฯ
  2. ค่าบริการรายเดือน ซึ่งแตกต่างไปตามประเภทผู้ใช้ไฟ (หรือเรียกภาษาบ้าน ๆ ว่าเราใช้ไฟไปกี่หน่วย)
  3. ภาษี Vat 7%
  4. ค่าไฟฟ้าผันแปร (FT)  ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายที่อยู่นอกเหนือการควบคุม ไม่ว่าจะเป็นค่าเชื้อเพลิง ค่าความพร้อมจ่าย 

4.1 ค่าเชื้อเพลิง ที่นำมาใช้ผลิตไฟฟ้าซึ่งแปรผันตามสถานการณ์โลก ไม่ว่าจะเป็น ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ฯ 

กฟผ. ผลิตไฟฟ้า ⅓ ของประเทศ และซื้อไฟฟ้ามาจากโรงไฟฟ้าเอกชนที่ผลิตไฟจากเชื้อเพลิงฟอสซิลหลักๆ คือก๊าซฟอสซิล ผลของสงครามยูเครนทำให้ก๊าซฟอสซิลขาดแคลน ค่าเชื้อเพลิงจึงขึ้นตามไปด้วย 

4.2 ค่าความพร้อมจ่าย และค่าสำรองไฟฟ้าที่ล้นเกินความจำเป็น เกิดจากจากคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะใช้ไฟฟ้ากี่เมกะวัตต์ แล้วจะสำรองไฟฟ้าในระบบกี่เมกะวัตต์ ปกติแล้วจะมีการสำรองไฟฟ้ามากกว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (Peak Demand) ที่ 15%

ทำไมเราต้องจ่าย ค่า FT

ตามข้อมูลเดือนเมษายน 2564 ประเทศไทย สำรองไฟฟ้าในระบบราว 55 %! ซึ่งการสำรองไฟฟ้าที่ล้นเกินแต่ไม่ได้ใช้ เพราะเกินความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด Peak Demand ไปมาก ก็จะถูกเก็บในบิลค่าไฟฟ้าที่เราต้องจ่ายนั้นเอง

ขั้นตอนต่อไปคือการวางแผนว่าจะนำเอาไฟฟ้ามาจากแหล่งใดเพื่อให้ครบตามจำนวนนี้ที่วางไว้  เช่น จากโรงไฟฟ้าถ่านหินกี่โรง กี่เมกะวัตต์ จากโรงไฟฟ้าก๊าซกี่เมกะวัตต์ โดยใช้ก๊าซฟอสซิลจากอ่าวไทย เมียนมา หรือนำเข้าก๊าซฟอสซิลเหลว (LNG)  แล้วจึงทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากันกับผู้ผลิตเอกชนซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงไฟฟ้าก๊าซฟอสซิล

หลายคนอาจเป็นกังวลว่าค่าไฟฟ้าจะสูงเกินไปหรือไม่ เมื่อบวกค่า Ft ที่เพิ่มขึ้น การไฟฟ้านครหลวง จึงมีเว็บไซต์ช่วยคำนวณค่าไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้า โดยแบ่งเป็น 8 ประเภท คือ

  • ประเภทที่ 1 บ้านอยู่อาศัย
  • ประเภทที่ 2 กิจการขนาดเล็ก
  • ประเภทที่ 3 กิจการขนาดกลาง
  • ประเภทที่ 4 กิจการขนาดใหญ่
  • ประเภทที่ 5 กิจการเฉพาะอย่าง
  • ประเภทที่ 6 องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร
  • ประเภทที่ 7 กิจการสูบน้ำเพื่อการเกษตร
  • ประเภทที่ 8 ผู้ใช้ไฟฟ้าชั่วคราว

ซึ่งแต่ละประเภทจะคำนวน ค่า FT ที่ต่างกัน โดยสามารถคำนวณค่าไฟฟ้าได้ที่  www.mea.or.th/aboutelectric/116/280/form/11

ค่าเอฟที ปรับขึ้น-ลง เมื่อไร

การปรับอัตราค่าเอฟที จะปรับทุก 4 เดือน หรือ 3 ครั้งต่อปี เพื่อให้เกิดการสะท้อนต้นทุนที่เปลี่ยนแปลงจากที่คำนวณไว้ในค่าไฟฐาน ได้แก่ ค่าเชื้อเพลิง ค่าซื้อไฟฟ้า และค่าใช้จ่ายตามนโยบายรัฐ

ปรับค่าไฟ มีปัจจัยอะไรอีกบ้าง

นอกจากค่าเอฟทีแล้ว ยังมีองค์ประกอบอื่น ๆ ที่มีผลต่อการปรับขึ้นอัตราค่าไฟฟ้าในแต่ละครั้ง ได้แก่ “ค่าไฟฟ้าฐาน”, “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” และ “ค่าบริการ” โดยแต่ละองค์ประกอบมีรายละเอียด ดังนี้

อัพเดต ค่า FT ล่าสุด เมษายน 2566

สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) มีมติรับทราบผลการรับฟังความคิดเห็นค่า Ft และได้พิจารณากรณีศึกษาการปรับค่า Ft ขายปลีก สำหรับเรียกเก็บในงวดเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2566

โดยมีมติเห็นชอบค่า Ft เป็นอัตราเดียวกันสำหรับบ้านที่อยู่อาศัย และผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่น ๆ เท่ากับ 98.27 สตางค์ต่อหน่วย ทำให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.77 บาทต่อหน่วย

ค่า FT คือ อะไร โดย ค่า FT ยังมีโอกาสปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง และมีผลทำให้ค่าไฟขึ้นได้อีก ดังนั้น จึงควรหาวิธีประหยัดการใช้พลังงาน เพื่อลดทั้งค่าไฟฐาน ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลัก และค่า Ft ที่ผันผวนตามค่าไฟฐานด้วย

ประหยัดค่าไฟได้อย่างไร ?

1.ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าและถอดปลั๊กเมื่อไม่ใช้งาน

2. เลือกใช้หลอดไฟ LED แทนหลอดไฟธรรมดา

3 ไม่เสียบปลั๊กชาร์จโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทิ้งไว้ เมื่อแบตเตอรี่เต็มแล้ว

4. เปิดแอร์ในอุณหภูมิที่เหมาะสม 26 องศาเซลเซียส

5. เลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ติดฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5

6. ล้างเครื่องปรับอากาศ หรือ แอร์ ทุก 6 เดือน เพื่อไม่ให้ทำงานหนัก