จากมาตรการควบคุมสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารแห่งประเทศไทย ทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องปล่อยสินเชื่ออย่างรัดกุมมากขึ้น ทำให้คนส่วนใหญ่โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยเข้าถึงสินเชื่อบ้านได้ยากขึ้น ด้วยเหตุนี้ ธนาคารของภาครัฐจึงกลายเป็นตัวเลือกของผู้ซื้อ โดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อยที่เข้าถึงสินเชื่อบ้าน หรือกู้บ้านได้ยาก โดยปัจจุบันทางธนาคารรัฐอย่างธนาคารออมสิน และธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ได้ออกมาตรการและแพ็กเกตที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีรายได้ไม่สูงมากนัก รวมถึงพ่อค้าแม่ค้าได้เข้าถึงสินเชื่อบ้าน หรือกู้บ้านได้ง่ายขึ้น โอนเงินได้ง่าย ผ่านมาตรการต่างๆ โดยงานนี้ ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์อย่าง บริษัท ไอริส กรุ๊ป จำกัด ก็สนับสนุนนโยบายอัตราดอกเบี้ยใหม่ ต่างๆ เหล่านี้ของรัฐบาลอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการ Iris Westgate โครงการ Iris Park และโครงการ Iden 101 เป็นต้น โดยสินเชื่อบ้านของธนาคารออมสิน-ธอส. กู้ง่าย ดอกเบี้ยต่ำ นับว่าน่าสนใจอย่างยิ่ง ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก DDproperty
1.ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (G H Bank)
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (G H Bank) มีผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ที่ 3.00% สำหรับ โครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 3 และให้วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 1,500,000 บาทต่อหลักประกัน กำหนดระยะเวลาเปิดจองสิทธิเข้าร่วมโครงการตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 และสิ้นสุดระยะเวลาทำนิติกรรม ภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2568 (ธนาคารสงวนสิทธิ์ในการกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดโครงการก่อนกำหนด หากธนาคารให้สินเชื่อเต็มวงเงินของโครงการแล้ว)
ทั้งนี้ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (G H Bank) ยังมีผลิตภัณฑ์สินเชื่อบ้านอื่น ๆ อีกมากมาย ที่มีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีค่อนข้างต่ำ อาทิ สินเชื่อที่ร่วมกับนโยบายรัฐ โครงการบ้านจัดสรรที่ธนาคารกำหนด โครงการสำหรับผู้สูงอายุ สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างประเทศ และสินเชื่อบ้านมือสอง ธอส เป็นต้น โดยจะมีระยะเวลาในการขอสินเชื่อตามที่ธนาคารกำหนด และสามารถดูอัตราดอกเบี้ยเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่น่าสนใจได้ที่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (G H Bank)
อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 6.900% (ประกาศ ณ วันที่ 9 มิถุนายน 2566)
2.ธนาคารทหารไทยธนชาต (TTB)
อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีต่ำที่สุดอยู่ที่ 3.45% โดยมีเงื่อนไข คือ โครงการที่กู้ซื้อนั้นต้องเป็นบ้านใหม่จาก บริษัทพัฒนาอสังหาฯ กลุ่มพิเศษที่ธนาคารกำหนด (บริษัทฯ พันธมิตร) และต้องสมัครพร้อมผลิตภัณฑ์เสริมทั้ง 3 ประเภท โดยบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่เข้าร่วมกับ ธนาคารทหารไทยธนชาต (TTB) กำหนดประกอบไปด้วย
อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 7.580% (ประกาศ ณ วันที่ 7 มิถุนายน 2566)
3.ธนาคารกรุงเทพ (BBL)
ธนาคารกรุงเทพ (BBL) เป็นสถาบันทางการเงินที่มีผลิตภัณฑ์สินเชื่อกู้บ้าน คอนโด และทางเลือกของอัตราดอกเบี้ยที่หลากหลายมากที่สุด โดยให้วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 100% ของมูลค่าหลักประกัน และมีอัตราดอกเบี้ยคงที่เฉลี่ย 3 ปีต่ำที่สุดอยู่ที่ 3.55% แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบด้วยกัน คือ แบบที่ 1 ปีแรก = MRR-4.90% ปีที่ 2 และปีที่ 3 = MRR-2.80% และแบบที่ 2 ปีแรก = MRR-4.65% ปีที่ 2 = MRR-4.15% และปีที่ 3 = MRR-1.70% โดยให้วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 100% ของมูลค่าหลักประกัน
ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ที่มีดอกเบี้ยต่ำที่สุดที่ 3.55% ของ ธนาคารกรุงเทพ (BBL) มีเงื่อนไขในการขอสินเชื่อบ้าน คือ ผู้กู้สินเชื่อต้องเป็นกลุ่มวิชาชีพเฉพาะ คือ แพทย์ ผู้พิพากษา อัยการ และนักบิน หรือ พนักงานประจำที่มีเงินเดือนมากกว่า 200,000 บาท และต้องทำประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ
นอกจากนั้น ธนาคารกรุงเทพ (BBL) ยังมีผลิตภัณฑ์สินเชื่อบ้านอื่น ๆ อีกมากมาย โดยจะมีระยะเวลาในการขอสินเชื่อตามที่ธนาคารกำหนด และสามารถดูอัตราดอกเบี้ยเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่น่าสนใจได้ที่ ธนาคารกรุงเทพ (BBL)
**อัตราดอกเบี้ยดังกล่าว สำหรับผู้ที่ยื่นกู้ภายในวันที่ 2 – 30 มิถุนายน 2566 หรือ อัปเดตกับทางธนาคารอีกครั้ง**
อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 7.050% (ประกาศ ณ วันที่ 2 มิถุนายน 2566)
4.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY)
อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยต่ำสุด 3 ปีแรกของ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา อยู่ที่ 3.55% สำหรับคอนโดที่มีราคาตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป สำหรับลูกค้าทั่วไป โดยให้วงเงินกู้สูงสุด 100% ส่วน บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม คอนโด อาคารพาณิชย์ และโฮมออฟฟิศ ที่มีราคาตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป
ส่วน กลุ่มอาชีพพิเศษ (แพทย์, สัตวแพทย์, ทันตแพทย์, เภสัชกร, ผู้พิพากษา และนักบินพาณิชย์) ลูกค้ากรุงศรี เอ็กซ์คลูซีฟ (สำหรับผู้มีเงินฝากและ/หรือเงินลงทุนกับธนาคาร 5 ล้านบาทขึ้นไป) และ ลูกค้า KRUNGSRI PRIME มีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยต่ำสุด 3 ปีแรกอยู่ที่ 3.55% เท่ากัน สำหรับ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม คอนโด ราคา 1 ล้านบาทขึ้นไป และ อาคารพาณิชย์ และโฮมออฟฟิศ ราคา 3 ล้านบาทขึ้นไป ทั้งมือหนึ่งและมือสอง โดยธนาคารให้วงเงินกู้สูงสุด 90% ของราคาประเมิน (85% ของราคาประเมินสำหรับห้องชุดพักอาศัย)
สำหรับ “คู่เพื่อน” ที่ต้องการใช้ชีวิตร่วมกัน จะมีความแตกต่างการจากกู้ร่วมแบบเดิม คือ การขอกู้สินเชื่อบ้านร่วมกันสำหรับคู่เพื่อน ที่ต้องการใช้ชีวิตร่วมกันนั้นแตกต่างการจากกู้ร่วมแบบเดิม คือ ไม่จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับผู้กู้ แต่จะพิจารณาจากรายได้ ศักยภาพในการชำระคืน และเครดิตของผู้กู้ทั้ง 2 ท่าน รวมถึงการตรวจสอบเพื่อยืนยันความสัมพันธ์ ทั้งนี้ ผู้กู้หลัก และผู้กู้ร่วม จำเป็นต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
- บุคคลธรรมดา
- สัญชาติไทย
- อายุ 27 – 65 ปี
- พนักงานประจำ อายุงานรวมที่ทำงานเดิมและปัจจุบันตั้งแต่ 2 ปี ขึ้นไป (งานปัจจุบันต้องผ่านการทดลองงานแล้ว)
- ผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว ประกอบธุรกิจมาแล้ว ตั้งแต่ 2 ปี ขึ้นไป
- ผู้กู้หลักต้องมีรายได้ 30,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป และเมื่อรวมรายได้ของผู้กู้ร่วมแล้วต้องไม่น้อยกว่า 50,000 บาทต่อเดือน
- ผู้กู้ต้องมีเอกสารหรือหลักฐานแสดงความสัมพันธ์หรือการอยู่ร่วมกันอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี ตามที่ธนาคารกำหนด เช่น ทะเบียนบ้านที่อยู่ด้วยกัน, บัญชีเงินฝากที่เปิดร่วมกัน เป็นต้น ทั้งนี้สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้จากพนักงานขาย
อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 7.150% (ประกาศ ณ วันที่ 9 มิถุนายน 2566)
5.ธนาคารกรุงไทย (KTB)
สำหรับลูกค้าทั่วไป กรณีขอสินเชื่อ แบบทำประกัน มีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรกต่ำสุดอยู่ที่ 3.82% โดยจะมีอัตราดอกเบี้ยปีที่ 1 -3 = MRR – 3.50%
ส่วน กรณีการขอสินเชื่อ แบบไม่ได้ทำประกัน ของ ธนาคารกรุงไทย มีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรกต่ำสุดอยู่ที่ 3.92% โดยมีอัตราดอกเบี้ยปีที่ 1-3 = MRR -3.40%
ทั้งนี้เอง ธนาคารกรุงไทย ยังมีอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจอย่าง สินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับบุคลากรภาครัฐ โดยมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ที่ 3.62% ในกรณีของการทำประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ มีอัตราดอกเบี้ยปี 1 – 3 = MRR -3.70% และความน่าสนใจของผลิตภัณฑ์สินเชื่อบ้านของ ธนาคารกรุงไทย (KTB) คือ มีระยะเวลาผ่อนนานสูงสุด 40 ปี
อ้างอิงตามอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเงินให้ MRR = 7.320% (ประกาศ ณ วันที่ 6 มิถุนายน 2566)
6.ธนาคารออมสิน (GSB)
ธนาคารออมสิน (GSB) จัดโปรโมชันสินเชื่อเคหะ ผ่อนต่ำล้านล่ะ 3,555 บาทต่อเดือน (6 เดือนแรก) โดยมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยคงที่ 3 ปีแรกต่ำสุดอยู่ที่ 3.84% สำหรับ กลุ่มวิชาชีพเฉพาะ / MOU และลูกค้าที่มีวงเงินกู้สินเชื่อเคหะตั้งแต่ 10 ล้านบาท) กรณีผู้กู้ประสงค์ทำประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ
ส่วนสำหรับ ลูกค้ากลุ่มวิชาชีพเฉพาะ / MOU กรณีผู้กู้ประสงค์ไม่ทำประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ มีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยคงที่ 3 ปีแรกอยู่ที่ 4.34% โดยวงเงินกู้สินเชื่อจะเป็นไปตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด
นอกจากนั้น ธนาคารออมสิน (GSB) ยังมีสินเชื่อเคหะ ผ่อนต่ำล้านล่ะ 3,555 บาทต่อเดือน (6 เดือนแรก) สำหรับบุคลทั่วไป และผลิตภัณฑ์สินเชื่อโปรโมชัน “บ้านหลังแรก” ผ่อนต่ำ ล้านละ 4,000 บาทต่อเดือน (3 ปีแรก) ฟรี ค่าจัดทำนิติกรรมสัญญา ค่าบริการสินเชื่อ และสนับสนุนค่าจดจำนอง ยื่นกู้ภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2566 อนุมัติและจัดทำนิติกรรมสัญญาภายในวันที่ 29 กันยายน 2566
อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 6.995% (ประกาศ ณ วันที่ 8 มิถุนายน 2566)
7.ธนาคารกสิกรไทย (Kbank)
สำหรับ ธนาคารกสิกรไทย แบ่งผลิตภัณฑ์การขอสินเชื่อบ้าน 2 รูปแบบ คือ สำหรับพนักงานที่มีรายได้ประจำ โดยมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ที่ 6.98% โดยมีเงื่อนไข คือ ลูกค้าต้องมีรายได้ต่อเดือนตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป และเป็นรายได้ประจำ ส่วนสินเชื่อบ้านสำหรับ ผู้ประกอบการ มีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ที่ 7.48% โดยมีเงื่อนไข คือ ลูกค้าต้องมีรายได้ต่อเดือนตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป และมีวงเงินกู้สูงสุดได้ไม่เกิน 80% ของราคาซื้อขาย และไม่เกิน 80% ของราคาประเมินหลักประกัน
นอกจากนั้น ธนาคารกสิกรไทย ยังมีผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 0% นาน 6 เดือน กู้เต็ม 100% สำหรับ กู้ซื้อทรัพย์สินรอการขาย ของธนาคารกสิกรไทย ไม่ว่าจะบ้าน ห้องชุด และอาคารพาณิชย์ โดยมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีต่ำสุดอยู่ที่ 4.39% สำหรับการทำประกันคุ้มครองสินเชื่อ โดยในปีแรกมีอัตราดอกเบี้ย = เดือนที่ 1-6 = 0% / เดือนที่ 7-12 = MRR-1.98% ปีที่สองและปีที่สาม = MRR-1.73%
อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 7.050% (ณ วันที่ 6 มิถุนายน 2566)
8.ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB)
ทั้งนี้เอง ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ก็มีอัตราดอกเบี้ยทางเลือกสำหรับทั่วไปที่น่าสนใจ โดยให้วงเงินกู้สูงสุด 100% จากราคาประเมินหลักประกัน กรณีลูกค้าโครงการ / ลูกค้าองค์กร จะได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ ขึ้นอยู่กับประเภทโครงการ หรือประเภทองค์กร
โดยผลิตภัณฑ์อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อกู้ซื้อบ้านใหม่ของ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบด้วยกัน คือ แบบที่ 1 (ทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อมากกว่า 70% ของวงเงินกู้) และแบบที่ 2 (ไม่ทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ)
อ้างอิงตามประกาศธนาคาร MRR = 7.050% (ประกาศ ณ วันที่ 8 มิถุนายน 2566)
*อัตราสินเชื่อบ้านโดยส่วนใหญ่จะเปลี่ยนแปลงไม่บ่อยมากนัก ประมาณ 1 ไตรมาสหรือครึ่งปีต่อครั้ง ทั้งนี้ การปรับเปลี่ยนของอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านขึ้นอยู่กับปัจจัยที่แตกต่างกันระหว่างธนาคารแต่ละที่ด้วย