ข้อควรปฏิบัติ “เมื่อเกิดแผ่นดินไหว” ในประเทศไทย

ข้อควรปฏิบัติ "เมื่อเกิดแผ่นดินไหว ในไทย

ข้อควรปฏิบัติ “เมื่อเกิดแผ่นดินไหว” ในประเทศไทย ในไทยแม้โอกาสในการเกิดแผ่นดินไหวจะน้อยกว่าพื้นที่อื่น ๆ แต่ไว้ใจธรรมชาติไม่ได้ ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น ดังนั้นวันนี้เราเลยรวบรวมวิธีการเตรียมพร้อมรับมือมาฝากกันค่ะ ลองมาดูกันเลย

ภายในอาคาร

  • ตั้งสติและรีบปิดสวิตช์ไฟ แก๊ส และน้ำประปาทันที
  • เปิดประตูทางเข้าออก พยายามหาสิ่งของ(เบาะที่รองนั่ง)เพื่อใช้ป้องกันศีรษะ พยายามหลบใต้โต๊ะหรือใต้อุปกรณ์เครื่องใช้ที่แข็งแรง หรือยืนใกล้กำแพงที่อยู่ตรงกลางของตึกอาคาร
  • ห้ามอยู่ใกล้หน้าต่างเด็ดขาด เนื่องจากกระจกหน้าต่างอาจจะแตก
  • ห้ามวิ่งออกนอกอาคารอย่างตื่นตกใจขาดสติ

ภายนอกอาคาร

  • ควรยืนอยู่ในที่โล่งหรือฟุตบาท ห้ามวิ่งเข้าไปในอาคาร
  • ระวังป้ายหรือกระถางที่อาจตกลงมาจากที่สูง
  • ควรออกห่างจากอาคารที่กำลังก่อสร้าง เสาไฟฟ้า กำแพง หรือตู้จำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้ติดตั้งหนาแน่น
  • หากอยู่บนสะพานลอยหรือทางเดินใต้ดิน ควรรีบเดินออกมาอย่างมีสติ
  • หากอยู่ในระหว่างขับขี่รถ ห้ามหยุดรถกระทันหัน ควรลดความเร็วและจอดข้างทาง
  • หากอยู่ในระหว่างการขับขี่รถบนทางด่วน ควรรีบขับออกจากทางด่วนโดยเร็วอย่างระมัดระวัง
  • หากอยู่ชานเมือง ควรไปอยู่ในแหล่งที่โล่ง และเดินออกห่างริมหน้าผา ริมทะเล ริมแม่น้ำ

พื้นที่ในอาคาร

  • หลบเข้าใต้โต๊ะ หันหลังเข้ากำแพง ป้องกันศรีษะให้ดี 
  • ห้ามวิ่งออกนอกห้องเรียนอย่างตื่นตระหนก และห้ามวิ่งขึ้นหรือลงบันได
  • งดใช้ลิฟท์เด็ดขาด

หลังแผ่นดินไหว

  • ตรวจสอบคนรอบข้างว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ควรให้การปฐมพยาบาลในกรณีที่เห็นว่ามีความจำเป็น
  • ตรวจเช็คท่อน้ำ สายไฟ และสายแก๊สว่า มีการชำรุดเสียหายหรือไม่ หากพบว่าสายแก๊สชำรุดเสียหาย ควรค่อยๆ เปิดประตูหน้าต่าง และออกจากพื้นที่พร้อมแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ
  • เปิดวิทยุรับฟังข่าวสารข้อมูลและคำชี้แนะเกี่ยวกับภัยพิบัติ
  • ตรวจสอบสภาพความชำรุดเสียหายของโครงสร้างอาคารบ้านเรือน และควรหลีกห่างอาคารบ้านเรือนที่ชำรุดเสียหายและควรใช้บันได
  • ควรใส่รองเท้าหนังเพื่อป้องกันไม่ให้ถูกเศษกระจกบาด
  • เพื่อรักษาช่องทางกู้ภัยให้มีความคล่องตัว ควรหนีภัยด้วยการเดิน
  • ฟังคำชี้แนะของเจ้าพนักงานในการหนีภัย
  • ควรออกห่างริมทะเล ท่าเรือ เพื่อป้องกันกรณีเกิดเหตุสึนามิ
  • ห้ามเข้าในเขตประสบภัยแผ่นดินไหวโดยมิได้รับอนุญาต และควรระมัดระวังการลักขโมยทรัพย์สินด้วย
  • ระวังการเกิดแผ่นดินไหวซ้ำ (After shock)

ขอบคุณข้อมุลจาก: thaiembassymnl.ph, edu.cmu.ac.th

𝐏𝐫𝐢𝐦𝐨 𝐌𝐚𝐧𝐚𝐠𝐞𝐦𝐞𝐧𝐭 ผู้นำธุรกิจการบริการดูแลและบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ บริหารอาคารชุด | หมู่บ้านจัดสรร |อาคารสำนักงาน ให้คุณสัมผัสประสบการณ์การใช้ชีวิตแบบที่ใช่ สนใจติดต่อเพื่อรับข้อมูลด้านบริหารโครงการได้ที่
02 081 0000 หรือ คลิกที่นี่ เพื่อศึกษาข้อมูลการบริการของเราเพิ่มเติมค่ะ