วันทูน่าโลก World Tuna Day : 2 พฤษภาคม อัพเดท 2566

วันทูน่าโลก

กรมประมง  ระบุว่า ปลาทูน่า (Tuna) จัดเป็นปลาทะเลน้ำตื้นจนถึงปานกลาง มีจำนวนหลายชนิดนิยมนำมารับประทานสด ทำอาหารกระป๋อง และนำมาประกอบอาหาร แต่การจับโดยส่วนใหญ่จะส่งโรงงานแปรรูปเป็นอาหารกระป๋อง ปลาทูน่าที่นิยมจับ  คือ ทูน่าครีบเหลือง ทูน่าครีบยาว ทูน่าสีน้ำเงิน ทูน่าตาโต  ปลาโอแถบ และปลาโอดำ เป็นต้น

วันทูน่าโลก คือ ?

เพื่อให้ความสำคัญกับ ปลาทูน่า จึงได้มี วันทูน่าโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 2 พฤษภาคมของทุกปี มีขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความสำคัญของปลาทูน่าและส่งเสริมการทำประมงอย่างยั่งยืน ปลาทูน่าเป็นแหล่งอาหารที่ได้รับความนิยมและสำคัญสำหรับผู้คนหลายล้านคนทั่วโลก แต่ปลาทูน่าก็กำลังเผชิญกับภัยคุกคามที่สำคัญเนื่องจากการจับปลามากเกินไป การทำลายที่อยู่อาศัย และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

โดยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติกำหนดให้วันที่ 2 พฤษภาคมเป็นวันปลาทูน่าโลกในปี 2559 โดยตระหนักถึงบทบาทสำคัญที่ปลาทูน่ามีต่อความมั่นคงทางอาหารทั่วโลกและการพัฒนาเศรษฐกิจ วันนี้เป็นโอกาสที่จะเน้นย้ำถึงความท้าทายที่ประชากรทูน่าเผชิญอยู่ และกระตุ้นให้เกิดการดำเนินการเพื่อรับประกันความยั่งยืนในระยะยาว

ในวันปลาทูน่าโลก องค์กรและบุคคลต่าง ๆ จะรวมตัวกันเพื่อจัดกิจกรรมและกิจกรรมที่มุ่งสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการอนุรักษ์ปลาทูน่าและความจำเป็นในการทำประมงอย่างรับผิดชอบ ซึ่งรวมถึงแคมเปญด้านการศึกษา โครงการเข้าถึงชุมชน และความพยายามในการส่งเสริมแนวทางการทำประมงอย่างยั่งยืนและปกป้องถิ่นที่อยู่ของปลาทูน่า

ด้วยเหตุดังกล่าว ทำให้องค์การสหประชาชาติยกย่อง “ทูน่า” ให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจสำคัญที่จำเป็นต้องมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ พร้อมทั้งได้กำหนดให้วันที่ 2 พฤษภาคมของทุกปี เป็น “วันทูน่าโลก”

จับทูน่าไทยลดลง 4%

สำหรับสถานการณ์การจับปลาทูน่าในประเทศไทย สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย เผยข้อมูลว่า ไทยมีการจับทูน่าจากการทำประมงพาณิชย์ช่วงมกราคม-พฤศจิกายน 2565 ปริมาณกา 48,926 ตัน ลดลง 4 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี2564 แบ่งเป็น ปลาโอดำ 51 % ปลาโอลาย 35 % ปลาโอหลอด 8 % ปลาทูน่าท้องแถบ 5 % และปลาอื่นๆ 0.1 %

ด้านการการส่งออกช่วงเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2565 ไทยส่งออกปลาทูน่า ปริมาณ 488,168 ตัน มูลค่า 37,177 ล้านบาท ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้น 9 % และ 29 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกส่วนใหญ่เป็นทูน่ากระป๋อง 91% ปลาทูน่าแช่เย็นแช่แข็ง 3 % ปลาทูน่าลอยน์สดแช่เย็นแช่แข็ง 2% และปลาทูน่าแปรรูป 4.52 % โดยสัดส่วนตลาดหลักส่งออกทูน่า คือ อเมริกา 24 % ตะวันออกกลาง 17 % แอฟริกา 17 % ญี่ปุ่น 9 % ออสเตรเลีย 9 % แคนาดา 6% อเมริกาใต้ 3.5 % EU 3 % อาเซียน 3 % และอื่นๆ 9 %

ส่วนการนำเข้าช่วงเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2565 ไทยนำเข้าปริมาณ 661,367 ตัน มูลค่า 41,762 ล้านบาท ปริมาณลดลง 2% และมูลค่าเพิ่มขึ้น 20% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเงินบาทอ่อนค่าทำให้มูลค่าเพิ่มขึ้น

โดยสัดส่วนตลาดนำเข้า 5 อันดับได้แก่ไต้หวัน 18 %, ไมโครนีเชีย 13 % , นาอูรู 10 % , มัลดีฟ 7 %, และวานูอาตู 8 % แบ่งตามชนิดทูน่านำเข้า คือ Skipjack 74 %, Yellowfin 14 %, Albacore 5 %, Bigeye 3 %และอื่นๆ 3% ผลิตภัณฑ์ทูน่าที่นำเข้าส่วนใหญ่เป็นปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็ง 98.7 % , ปลาทูน่าแปรรูป1.2 % และ เนื้อปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็ง 0.1%

ทูน่าแหล่งโปรตีนสำคัญ

ทูน่าเป็นแหล่งโปรตีนสำคัญ มีกรดไขมันโอเมก้า-3 ไอโอดีน แมงกานีส ซิลิเนียม วิตามินนานาชนิด และสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยป้องกันการเกิดความดันโลหิตสูง ดีต่อสุขภาพของหัวใจและหลอดเลือด และยังช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง

นอกจากจะอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ทูน่ายังมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา ราว 85 ประเทศทั่วโลกที่ทำอุตสาหกรรมประมงทูน่า ในแถบมหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรแอตแลนติก และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

ไทยส่งออกทูน่ากระป๋องอันดับ 1 ของโลก

ในปี 2556คนทั่วโลกบริโภคทูน่า 5.2 ล้านตัน แบ่งเป็น ทวีปยุโรป 1.3 ล้านตัน ญี่ปุ่น 750,000 ตัน อเมริกาใต้ 590,000 ตัน อเมริกาเหนือ 580,000 ตัน ตะวันออกกลาง 380,000 ตัน และอีก 1.1 ล้านตันคือผู้บริโภคในเอเชีย (ยกเว้นญี่ปุ่น) ทั้งทูน่ากระป๋องและซาชิมิ

ประเทศไทยครองแชมป์ประเทศผู้ส่งออกทูน่ากระป๋องอันดับ 1 ของโลก ยาวนานมาตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา รองลงมาคือประเทศเอกวาดอร์ และสเปน

ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2560 ไทยส่งออกทูน่าประป๋อง (รวมทูน่ากระป๋องกลุ่มอาหารสัตว์เลี้ยง) 228,224 ตัน คิดเป็นมูลค่า 31,204 ล้านบาท ขณะที่มูลค่าการส่งออกทูน่ากระป๋องของไทยในปี 2559 ตลอดทั้งปีอยู่ที่ 77,275 ล้านบาท ส่งออกทั้งหมด 630,357 ตัน

ไทยนำเข้าทูน่าดิบแช่แข็งเพื่อผลิตทูน่ากระป๋องในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2560 รวม 267,260 ตัน มูลค่า 15,611 ล้านบาท ขณะที่ปี 2559 ตลอดทั้งปี ไทยนำเข้าทูน่าดิบแช่แข็งทั้งหมด 740,205 ตัน มูลค่ารวม 41,040 ล้านบาท

ทูน่าสายพันธุ์ที่ไทยนำเข้ามาผลิตทูน่ากระป๋องมากที่สุดคือ ทูน่าพันธุ์ท้องแถบ (Skipjack Tuna) นำเข้ามากถึง 69% รองลงมาคือ ทูน่าครีบเหลือง (Yellowfin Tuna) ทูน่าตาโต (Bigeye Tuna) และทูน่าครีบยาว (Albacore Tuna)

ทูน่าสายพันธุ์ยอดนิยม

ทูน่าครีบน้ำเงิน (Bluefin Tuna) เป็นทูน่าสายพันธุ์ที่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์มากที่สุดและเป็นที่ต้องการของตลาดมากที่สุด เคยมีสถิติถูกประมูลในตลาดปลาซึกิจิ (Tsukiji Fish Market) ตลาดปลาที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ญี่ปุ่น ไปด้วยราคา 155.4 ล้านเยน (ประมาณ 46.5 ล้านบาท) เมื่อปี 2556 ถือว่ามีราคาแพงที่สุดและยังไม่มีปลาตัวไหนล้มสถิติได้

90% ของทูน่าครีบน้ำเงินที่ถูกจับได้ในตลาดโลก จะถูกส่งไปขายที่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นตลาดซาซิมิและซูชิที่ใหญ่ที่สุด ขณะที่ตลาดรองลงมา คือ สเปนและอิตาลี ที่นิยมนำทูน่าไปทำสเต็ก ปัจจุบัน ทูน่าครีบน้ำเงินนั้นอยู่ในภาวะใกล้จะสูญพันธุ์

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ PRI บทความ