ฟรีแลนซ์ อยากมีบ้าน ต้องทำอย่างไร ? อัปเดต 2566

ฟรีแลนซ์ อยากมีบ้าน ต้องทำอย่างไร

ฟรีแลนซ์ หรือ Freelance เป็นหนึ่งในอาชีพอิสระ ที่ต่างก็มีความฝันในการซื้อบ้าน หรือ คอนโด สักหลังนึง วันนี้เราจึงขอนำเสนอบทความดีๆ ที่มาไขความกระจ่างว่า ฟรีแลนซ์ อยากมีบ้าน ต้องทำอย่างไร ?

ไขข้อสงสัย ฟรีแลนซ์ อยากมีบ้าน ต้องทำอย่างไร ?

ฟรีแลนซ์ หรือ Freelance สามารถทำงานเพื่อเป็นเจ้าของบ้าน หรือ คอนโด ได้เช่นเดียวกับคนอื่นๆ โดยทำตามขั้นตอนสำคัญๆ ต่อไปนี้

  1. การวางแผนทางการเงิน: สร้างงบประมาณเพื่อทำความเข้าใจรายได้และค่าใช้จ่ายของคุณ วิธีนี้จะช่วยให้คุณสามารถกำหนดได้ว่าคุณจะสามารถประหยัดเงินหรือลงทุนในบ้านได้มากน้อยเพียงใด สร้างกองทุนฉุกเฉินเพื่อครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิดหรือช่วงที่แห้งแล้งในการทำงานฟรีแลนซ์ของคุณ
  2. เพิ่มรายได้: กระจายแหล่งรายได้อิสระของคุณหรือดำเนินโครงการเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มรายได้ของคุณ พิจารณาเพิ่มอัตราเมื่อคุณได้รับประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในสาขาของคุณมากขึ้น
  3. การจัดการหนี้: ชำระหนี้ที่มีอยู่ เช่น หนี้บัตรเครดิตหรือเงินกู้นักเรียน เพื่อปรับปรุงคะแนนเครดิตและความมั่นคงทางการเงินของคุณ
  4. ประหยัดเงินดาวน์: เริ่มออมเงินดาวน์บ้าน ตั้งเป้าอย่างน้อย 20% ของราคาซื้อบ้านเพื่อหลีกเลี่ยงการประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัย (PMI) และเงื่อนไขการกู้ยืมที่ดีขึ้น
  5. ปรับปรุงคะแนนเครดิต: รักษาคะแนนเครดิตที่ดีด้วยการชำระบิลตรงเวลาและจัดการเครดิตของคุณอย่างมีความรับผิดชอบ คะแนนเครดิตที่สูงขึ้นสามารถช่วยให้คุณมีคุณสมบัติได้รับอัตราการจำนองที่ดีขึ้น
  6. การวิจัยตลาดที่อยู่อาศัย: จับตาดูตลาดที่อยู่อาศัยในพื้นที่ที่คุณต้องการ ทำความเข้าใจราคาและแนวโน้มปัจจุบันเพื่อกำหนดเป้าหมายที่สมจริง
  7. พูดคุยกับนายหน้าจำนองหรือผู้ให้กู้: ปรึกษากับนายหน้าจำนองหรือผู้ให้กู้เพื่อทำความเข้าใจความสามารถในการกู้ยืมของคุณ ประเภทของการจำนองที่มี และอัตราดอกเบี้ยที่คุณอาจมีสิทธิ์ได้รับ
  8. สร้างไทม์ไลน์การซื้อบ้าน: ตัดสินใจว่าคุณต้องการซื้อบ้านเมื่อใดและกำหนดเวลาที่สมจริงเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการออมและเครดิตของคุณ
  9. ลดค่าใช้จ่าย: มองหาวิธีลดค่าใช้จ่ายรายเดือนของคุณ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นหรือค้นหาตัวเลือกที่อยู่อาศัยราคาไม่แพงมากขึ้นในขณะที่คุณเก็บเงินไว้บ้านของคุณเอง
  10. ลงทุนอย่างชาญฉลาด: พิจารณาลงทุนเงินออมบางส่วนในการลงทุนระยะยาวที่มีความเสี่ยงต่ำเพื่อให้เงินของคุณเติบโตเมื่อเวลาผ่านไป
  11. ขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ: ปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินหรือผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์เพื่อรับคำแนะนำเกี่ยวกับสถานการณ์เฉพาะของคุณและตลาดที่อยู่อาศัยในท้องถิ่นของคุณ
  12. อดทนและสม่ำเสมอ: การออมเงินเพื่อสร้างบ้านอาจต้องใช้เวลา โดยเฉพาะฟรีแลนซ์ที่มีรายได้ผันแปร มุ่งมั่นต่อเป้าหมายของคุณและปรับแผนของคุณตามความจำเป็น

โปรดจำไว้ว่าการเป็นเจ้าของบ้านถือเป็นข้อผูกพันทางการเงินที่สำคัญ และจำเป็นต้องประเมินความพร้อมทางการเงินของคุณอย่างละเอียดถี่ถ้วน และสำรวจทางเลือกของคุณก่อนตัดสินใจซื้อที่สำคัญดังกล่าว นอกจากนี้ กระบวนการซื้อบ้านอาจแตกต่างกันไปตามสถานที่ตั้ง ดังนั้นอย่าลืมศึกษาข้อกำหนดและกระบวนการเฉพาะในพื้นที่ของคุณ

ธนาคารพิจารณาปล่อยกู้อาชีพอิสระจากอะไรบ้าง ?

  • รายได้เฉลี่ยต่อเดือน
  • ประเภทอาชีพอิสระ จำนวนต้นทุนมากน้อยส่งผลต่อการคิดฐานรายรับ
  • สัญญาจ้างงาน เป็นแบบมีระยะเวลาหรือไม่มีระยะเวลา
  • อายุงานอย่างต่ำควรอยู่ที่ 2 ปีขึ้นไป ดูความสม่ำเสมอของงานและรายได้
  • รายการบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน แสดงความเคลื่อนไหวทางธุรกรรมโดยเฉพาะรายรับต้องตรงกับค่าจ้างในแต่ละเดือน
  • ภาระหนี้สิน ไม่ควรมีหนี้สินที่กำลังผ่อนอยู่มากเกินไปและต้องมีการชำระหนี้อย่างสม่ำเสมอไม่ค้างหนี้

อกสารที่ ฟรีแลนซ์ หรือ Freelance ต้องมี

-สำเนาบัตรประชาชนผู้กู้
-สำเนาทะเบียนบ้านผู้กู้
-ใบเปลี่ยนชื่อ/นามสกุล/ทะเบียนสมรส/ใบหย่า (ถ้ามี)
-บัญชีเงินเดือนหรือบัญชีรายรับ / รายการเดินบัญชี Statement ย้อนหลัง 6 เดือน – 1 ปี
-ใบจองซื้อ/สำเนาโฉนดที่ดิน (กรณีผู้กู้ยื่นด้วยตนเอง ไม่ผ่านโครงการ)

2. เอกสารที่ต้องยื่นเพิ่มเฉพาะกลุ่มผู้ทำงานอิสระ

รายการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน
ปัจจุบันไม่จำเป็นต้องไปที่สาขา เพราะหลายธนาคารสามารถขอออนไลน์ผ่านทาง Mobile Banking หรือ internet banking ได้แล้ว

ใบเสร็จรับเงินชำระภาษีประจำปี
เพื่อเป็นหลักฐานว่าผู้กู้มีการยื่นแบบภาษีประจำปีอย่างถูกต้องทุกปี สามารถสั่งพิมพ์ออนไลน์จากเว็บไซต์กรมสรรพากรได้เลย

ใบสัญญาจ้างงาน
ในบางกรณีบริษัทผู้ว่าจ้างอาจมีสัญญาจ้างให้ฟรีแลนซ์เซ็นต์ในรูปแบบสัญญาหรือข้อตกลง ระบุระยะเวลาของโปรเจคต์งานซึ่งหลายธนาคารมักขอให้ผู้กู้ยื่นส่งเอกสารดังกล่าวเพื่อไปประกอบการพิจารณาด้วย

เอกสารการรับเงินจากลูกค้า
เอกสารการรับเงินจากลูกค้าหรือใบเสร็จถือเป็นหลักฐานยืนยันการได้รับค่าจ้าง ในที่นี้หมายความรวมถึงการแคปหน้าจอที่ลูกค้าโอนเงินไว้ทุกครั้งด้วย

บัญชีรายรับรายจ่าย
บัญชีรายรับรายจ่ายของธุรกิจว่าในแต่ละเดือนมีรายรับรายจ่ายเป็นอะไรบ้างยอดเงินต่าง ๆ ที่ปรากฏในบัญชีธนาคารต้องสอดคล้องกับรายรับรายจ่ายของผู้กู้

เอกสารอื่น ๆ
เช่น ใบเสนอราคาที่ได้รับการอนุมัติแล้ว รูปถ่ายผลงาน ใบแจ้งหนี้ หรือแม้แต่บัญชีเงินฝากประจำที่แสดงให้เห็นถึงวินัยการออมเงินของผู้กู้ และที่สำคัญไม่มีหนี้สิน ไม่ติดเครดิตบูโร

กู้ร่วมเพื่อโอกาสที่มากขึ้น

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัย์ ให้ข้อมูลดังนี้ การกู้ร่วม ถือเป็นกลยุทธ์ที่ทำให้ฟรีแลนซ์มีโอกาสเพิ่มสูงมากสำหรับการกู้ซื้อบ้านผ่าน ยิ่งถ้าคนที่จะมากู้ร่วมกับเราเป็นพนักงานประจำที่มีเงินเดือนมั่นคง มีเครดิตทางการเงินดี มีรายได้ดีด้วยแล้ว ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสกู้ผ่านได้มากขึ้น เพราะแน่นอนว่าการกู้ร่วมคือการรวมเอาสถานะการเงินของคน 2 คนไว้ด้วยกัน

ทำให้มีความมั่นคงทางการเงินมากขึ้น และมีโอกาสที่จะผ่อนชำระได้อย่างไม่มีปัญหา อย่างไรก็ตาม ผู้ที่จะมาขอกู้ร่วมกับเรานั้น ควรเป็นญาติ พี่น้อง หรือคนในครอบครัว หรือเป็นคู่หมั้นคู่รักที่วางแผนจะแต่งงานกัน เพื่อป้องกันการผิดใจหรือการทะเลาะเบาะแว้ง ที่อาจทำให้มีปัญหาเรื่องการกู้ร่วมในภายหลัง

แม้การเป็นฟรีแลนซ์จะทำให้สามารถหารายได้ได้มาก มีอิสระมีโอกาสเติบโตได้สูง แต่ธนาคารก็ยังมองว่าเป็นอาชีพที่มีรายได้ไม่มั่นคงอยู่ดี ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว ธนาคารมักจะประเมินฐานรายได้ของฟรีแลนซ์ต่ำกว่าปกติเสมอ เช่นสมมติเราเป็นฟรีแลนซ์ที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 100,000 บาท

ธนาคารอาจประเมินฐานรายได้ของเราเหลือเพียง 30-70% คือ 30,000-70,000 บาทต่อเดือนเท่านั้น จึงทำให้ยิ่งหากรายรับเฉลี่ยไม่สูง และมีหนี้ติดตัว ก็จะยิ่งถูกประเมินความสามารถในการผ่อนชำระได้ต่ำลงไปอีก อันเป็นเหตุผลที่ทำให้ฟรีแลนซ์ส่วนใหญ่กู้ซื้อบ้านไม่ผ่าน

แต่อย่างไรก็ตาม หากเราเคลียร์เครดิตทางการเงินของเราได้ดี แสดงที่มารายได้ที่ชัดเจนและมีความมั่นคง มีเงินออมและสินทรัพย์อื่นซึ่งสะท้อนถึงวินัยทางการเงินที่ดี ร่วมกับมีคนกู้ร่วมด้วยแล้ว โอกาสที่จะขอกู้ซื้อบ้านผ่านได้ก็จะมีมากยิ่งขึ้น

ดังนั้น สำหรับฟรีแลนซ์ที่ปรารถนาอยากกู้ซื้อบ้านเป็นของตัวเอง การเตรียมตัว เตรียมสถานะการเงินตัวเองให้พร้อม การรวบรวมเอกสารทางการเงินและอาชีพการงานอย่างละเอียดรอบคอบ จึงเป็นสิ่งที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ และควรใช้เวลาเตรียมตัวตั้งแต่เนิ่น ๆ สัก 1 ปีก่อนขอยื่นกู้ เพื่อให้มีโอกาสกู้ซื้อบ้านได้ผ่านง่ายมากที่สุดในครั้งเดียว

———————————————

𝐏𝐫𝐢𝐦𝐨 𝐒𝐞𝐫𝐯𝐢𝐜𝐞 𝐒𝐨𝐥𝐮𝐭𝐢𝐨𝐧𝐬

เป็นผู้นำในธุรกิจบริการด้านอสังหาริมทรัพย์สมัยใหม่แบบครบวงจรและกำกับดูแลกิจการในกลุ่มบริษัทในเครือ ให้พัฒนาและเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งพัฒนาและลงทุนในธุรกิจสมัยใหม่ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด

𝐒𝐮𝐩𝐞𝐫 𝐋𝐢𝐯𝐢𝐧𝐠 𝐒𝐞𝐫𝐯𝐢𝐜𝐞𝐬, 𝐇𝐚𝐩𝐩𝐲 𝐌𝐚𝐤𝐞𝐫

📱 Tel : 02-0810000

🌏 Website: https://primo.co.th/

📶 Line : https://lin.ee/Jt3nhkF

#PrimoServiceSolutions#SuperLivingServices#propertymanagement#agent#interior#cleaningservice#hotelservice#น้องพิริยินดีให้บริการ