เปิด ประวัติวันคริสต์มาส 2566 ที่มา 25 ธันวาคม และความจริงของซานต้า

ประวัติวันคริสต์มาส 2566

ประวัติวันคริสต์มาส 2566 ใกล้วันคริสต์มาสเข้ามาทุกที ซึ่งทุกๆคนคงรู้กันว่าเป็นวันเฉลิมฉลอง และมีกิจกรรมสร้างความสุขอย่างมากมายทั่วทุกมุมโลก แต่คริสต์มาสนั้น ยังเป็นวันที่มีอะไรมากกว่าที่ทุกคนรู้ วันนี้เราได้รวบรวมทุกๆ ย่างที่ทุกคนอยากรู้มาไว้ใน บทความนี้แล้ว ติดตามต่อันได้เลย

ประวัติวันคริสต์มาส คือ อัปเดต 2566

อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ แหล่งรวมชุมชนชาวคริสต์ คาทอลิก ในไทย ได้ให้ข้อมูลว่า คริสต์มาส คือ การฉลองการบังเกิดของพระเยซู ซึ่งตรงกับ วันที่ 25 ธันวาคม ของทุกปี โดยเป็น การฉลองวันประสูติของพระเยซูผู้เป็นศาสดาสูงสุดของชาวคริสต์ทั่วโลก เป็นวันฉลองที่มีความสำคัญ และมีความหมายมากที่สุดวันหนึ่ง

เพราะชาวคริสต์ถือว่า พระเยซูมิใช่เป็นแต่เพียงมนุษย์ธรรดาๆ ที่มาเกิดเหมือนเด็กทั่วไป แต่พระองค์เป็นบุตรของพระเจ้าผู้สูงสุด และมีพระธรรมชาติเป็นพระเจ้า และเป็นมนุษย์ในพระองค์เอง การบังเกิดของพระองค์ จึงเป็นเหตุการณ์พิเศษ ที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือนด้วย 

คริสต์มาส คือ ?

คำว่า “คริสต์มาส” เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ Christmas ซึ่งมาจากคำภาษาอังกฤษโบราณว่า Christes Maesse  ที่แปลว่า บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า  เพราะการร่วมมิสซาเป็นประเพณีสำคัญที่สุดที่ชาวคริสต์ถือปฏิบัติกันในวันคริสต์มาส  คำว่า Christes Maesse  พบครั้งแรกในเอกสารโบราณเป็นภาษาอังกฤษในปี ค.ศ. 1038   

และคำนี้ก็ได้แปรเปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas  ในภาษาไทย “คริสต์มาส” ก็มีความหมายเช่นกัน คำว่า มาส แปลว่า เดือน เทศกาลคริสต์มาสจึงเป็นเดือนที่เราระลึกถึงพระเยซูคริสตเจ้าเป็นพิเศษ  อีกความหมายหนึ่งของคำว่า มาส คือ ดวงจันทร์   

ฉะนั้นจึงตีความหมายเป็นภาษาไทยได้อีกอย่างหนึ่งคือ พระเยซูทรงเป็นความสว่างของโลก เหมือนดวงจันทร์เป็นความสว่างใน ตอนกลางคืน

คำทักทายที่เราได้ฟังบ่อยๆ ในเทศกาลนี้คือ Merry X’mas คำว่า Merry ในภาษาอังกฤษโบราณแปลว่า สันติสุขและความสงบทางใจ เพราะฉะนั้น คำนี้จึงเป็นคำที่ใช้อวยพรคนอื่น ขอให้เขาได้รับสันติสุขและความสงบทางใจ เนื่องในโอกาสเทศกาลคริสต์มาส

วิวัฒนาการ ของ วันคริสต์มาส

นักประวัติศาสตร์มีความเห็นว่า วันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันที่จักรพรรดิเอาเรเลียนแห่งโรมันกำหนดให้เป็นวันฉลองวันเกิดของสุริยเทพ โดยเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 274

แต่ชาวคริสต์ที่อยู่ในอาณาจักรโรมันและชาวโรมันบางส่วนที่เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์อึดอัดใจที่ร่วมในงานฉลองของสุริยเทพ จึงหันมาฉลองการประสูติของพระเยซูแทนหลังจากที่โดนควบคุมเสรีภาพทางศาสนาตั้งแต่ปี ค.ศ. 64-313 จนกระทั่งวันที่ 25 ธันวาคม ปี ค.ศ. 330 ชาวคริสต์จึงได้เริ่มฉลองคริสต์มาสกันอย่างเปิดเผย

โดย การฉลองคริสต์มาสแพร่มาจากกรุงโรมไปยังทุกประเทศ พร้อมกับศาสนาคริสต์ที่ค่อยๆ แผ่ขยายไปในที่ต่างๆ จนในปี ค.ศ. 1100 ประชาชนก็เป็นคริสตชนทั้งหมดทั่วยุโรป และก็ได้พบว่ามีการฉลองวันคริสต์มาสพร้อมกันในยุโรป เพราะถือว่าเป็นวันสำคัญวันหนึ่งในศาสนา

เราสามารถแบ่งวิวัฒนาการของการฉลองวันคริสต์มาสเป็น 4 ช่วง คือ
1. ค.ศ. 330-1100 ช่วงนี้เป็นช่วงแห่งการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ ทีละเล็กทีละน้อยก็มีการฉลองวันคริสต์มาส และก็มีการเริ่มเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระเยซูเป็นเวลา 4 สัปดาห์ก่อนคริสต์มาส     เป็นเวลาเตรียมตัวโดยการใช้โทษบาป อดอาหารและภาวนาเป็นพิเศษ

2. ค.ศ. 1100-ศตวรรษที่ 16  ช่วงนี้มีการพัฒนาประเพณีต่างๆ ที่เกี่ยวกับการฉลองคริสต์มาส เช่นการแต่งเพลงคริสต์มาส การทำถ้ำพระกุมาร ทำต้นคริสต์มาส

3. ศตวรรษที่ 16-19 ระยะนี้มีการแตกแยกในคริสตศาสนา เกิดมีนิกายบางนิกายขึ้นมา ซึ่งบางนิกายไม่สนับสนุนให้มีการฉลองวันคริสต์มาส ด้วยเหตุผลที่ว่าคริสต์มาสเป็นวันที่มนุษย์เลือกเอาเองโดยได้รับอิทธิพลจากชาวโรมัน ที่ฉลองดวงอาทิตย์คล้ายเป็นพระเจ้าของเขา และชาวบ้านก็ให้ความสำคัญแก่วันนี้มากกว่าวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันที่พระเจ้ากำหนดให้เป็นวันศักดิ์สิทธิ์ แต่อย่างไรก็ตาม ชาวคาทอลิกพร้อมกับคริสตศาสนาหลายๆ นิกาย เช่น Lutheran เป็นต้น   ยังรักษาการฉลองนี้ไว้ด้วยความอบอุ่น และศรัทธาจนถึงปัจจุบัน

4. ศตวรรษที่ 19 – ปัจจุบัน เริ่มมีประเพณีอื่นทางโลกแทรกเข้ามาซึ่งมีอิทธิพลต่อการฉลองนี้มาก เช่นเรื่องซานตาคลอส การให้ของขวัญ การส่งบัตรอวยพรคริสต์มาส ซึ่งร้านต่างๆ ยินดีสนับสนุน เพราะเป็นโอกาสดีที่จะขายสินค้า ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจให้ดีขึ้นไปในตัว ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านทั่วไปก็อาจจะลืมความสำคัญ หรือความหมายที่แท้จริงของวันคริสต์มาส โดยหันมาเพิ่มความสนใจในสิ่งภายนอกมากกว่า

วันคริสต์มาส ในประเทศไทย อัปเดต ล่าสุด

สำหรับวันคริสต์มาสในประเทศไทยนั้น เราจะเห็นได้ว่ามีการจัดงานขึ้นทุกๆ ปี ตามสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้า สถานที่สำคัญ สถานที่ท่องเที่ยว หรือแม้กระทั่งในสถานที่ทำงานของเรา โดยจะตกแต่งโดยสายรุ้ง แสงไฟระยิบระยับในทุกๆ ปี รวมถึงมีการจับของขวัญซึ่งกันและกัน เป็นการร่วมแสดงออกถึงเทศกาลแห่งความสุขนั้นเอง

ถ้าลองมองให้ลึกลงไป ปกติแล้วคนไทยเป็นกลุ่มชนที่รักความสนุกสนาน ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมและประเพณี มักจะมีเรื่องราวแห่งความสุขสนาน ความชื่นชมยินดีแทรกอยู่ในตัวเอง เมื่อมีวัฒนธรรมของคนชาติอื่นๆเข้ามา ยิ่งเป็นวัฒนธรรมที่ชื่นชมยินดี สนุกสนานด้วยแล้ว จึงเป็นเรื่องง่ายที่คนไทยเองจะรับวัฒนธรรมเหล่านั้นเข้ามาปรับเป็นของตน ทำให้คุ้นเคยได้เร็ว หรือไม่รู้สึกอึดอัดเมื่อร่วมเฉลิมฉลองไปกับวัฒนธรรมนั้นๆ สำหรับเทศกาลคริสมากก็เช่นเดียวกัน เป็นเทศกาลที่สนุกสนานเต็มไปด้วยความรื่นเริง

เปิด ความจริงของซานต้า ที่ทุกคนต้องรู้ อัปเดตล่าสุด

ซานต้า หรือ ซานต้าครอส คุณลุงเคราสีขาว ใส่ชุดแดง คอยให้ของขวัญเด็ก ที่ดูแสนใจดีนั้น จริงแล้วมีที่มา ดังนี้

ตัวจริงของซานตาครอส คือ ในศตวรรษที่ 4 มีนักบุญคนหนึ่งชื่อว่า (เซนต์) นิโคลาส ผู้เป็นสังฆราชแห่งเมืองไมรา ประเทศตุรกี เขาปีนขึ้นไปบนหลังคาของบ้านเด็กหญิงยากจนคนหนึ่งแล้วทิ้งถุงเงินลงไปในปล่องไฟ แต่บังเอิญถุงเงินตกไปในถุงเท้าที่เด็กหญิงแขวนตากไว้ข้างเตาผิงพอดี

โดยชาวฮอลแลนด์นับถือนักบุญนิโคลัสว่าเป็นนักบุญผู้อุปถัมภ์ของเด็กๆ เพราะ ขึ้นชื่อในเรื่องความใจดี โดยเฉพาะกับเด็กๆ ต่อมาท่านเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางทั่วฮอลแลนด์ในชื่อ “ซินเตอร์คลาส” ราวค.ศ.1870 ชาวอเมริกันเรียกชื่อเพี้ยนไปเป็น “ซานตาคลอส” 

เนื่องจากเมื่อชาวฮอลแลนด์ย้ายไปอยู่ในประเทศสหรัฐฯ ก็ยังรักษาประเพณีการฉลองนักบุญ นิโคลาส เอาไว้ ซึ่งหมายถึงนักบุญจะมาเยี่ยมและเอาของขวัญมาให้เด็กๆ ลูกหลานของชาวฮอลแลนด์ที่อพยพมา ต่อมาการฉลองนี้เริ่มกลายเป็นประเพณีแพร่หลายในอเมริกา แต่เปลี่ยนจากนักบุญนิโคลัสเป็น “ซานตาครอส” แทน

โดยภาพจำของซานตาคลอส หรือ นักบุญนิโคลัส เป็นชายร่างผอมสูงสวมชุดสีเขียว หรือน้ำตาลสลับแดง เจนนี ไนสตรอม ศิลปินชาวสวีเดน เป็นผู้คิดค้นรูปลักษณ์ของซานตาครอสอย่างที่เห็นกันในปัจจุบัน โดยวาดภาพลงในบัตรอวยพรคริสต์มาส ภาพเหล่านี้ได้รับความนิยมไปทั่วโลก เมื่อชาวสวีเดนอีกคนชื่อ แฮดดอน ซันด์บลอม นำภาพวาดของไนสตรอมสวมชุดขาว

สีประจำวันคริสต์มาส

สีที่เกี่ยวข้องในวันคริสต์มาสประกอบด้วย

สีแดง : เป็นสีของผลฮอลลี่ หรือซานตาครอส เป็นสีของเดือนธันวาคม ที่แสดงถึงความตื่นเต้น และหากเป็นสัญลักษณ์ตามศาสนา สีแดงจะหมายถึง ไฟ, เลือด และความโอบอ้อมอารี

สีเขียว : เป็นสีของต้นไม้ สัญลักษณ์ของธรรมชาตื หมายถึงความอ่อนเยาว์และความหวังที่จะมีชีวิตเป็นนิรันดร์ เปรียบได้กับว่าเทศกาลคริสต์มาสคือเทศกาลแห่งความหวัง

สีขาว : เป็นสีของหิมะ และเป็นสัญลักษณ์ทางศาสนา คือแสงสว่าง ความบริสุทธิ์ ความสุข และความรุ่งเรือง สีขาวนี้จะปรากฎบนเสื้อคลุมนางฟ้า, เคราและชายเสื้อของซานตาครอส

สีทอง : เป็นสีของเทียนและดวงดาว เป็นสัญลักษณ์ของแสงอาทิตย์และความสว่างไสว

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่นี่ คลิก


𝐏𝐫𝐢𝐦𝐨 𝐒𝐞𝐫𝐯𝐢𝐜𝐞 𝐒𝐨𝐥𝐮𝐭𝐢𝐨𝐧𝐬

เป็นผู้นำในธุรกิจบริการด้านอสังหาริมทรัพย์สมัยใหม่แบบครบวงจรและกำกับดูแลกิจการในกลุ่มบริษัทในเครือ ให้พัฒนาและเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งพัฒนาและลงทุนในธุรกิจสมัยใหม่ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด

𝐒𝐮𝐩𝐞𝐫 𝐋𝐢𝐯𝐢𝐧𝐠 𝐒𝐞𝐫𝐯𝐢𝐜𝐞𝐬, 𝐇𝐚𝐩𝐩𝐲 𝐌𝐚𝐤𝐞𝐫

Tel : 02-0810000

Website: https://primo.co.th/

Line : https://lin.ee/Jt3nhkF