วันป่าไม้โลก 2567 หรือ World forestry day ถูกจัดขึ้นเป็นประจำในทุกๆ ปี ในวันที่ 21 มีนาคม ของทุกปี เป็น “วันป่าไม้โลก” เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของป่าไม้ ตามมติของที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2012
วันป่าไม้โลก 2567 World forestry day
ตามที่ กรมป่าไม้ ได้ให้ข้อมูลไว้ดังนี้ วันป่าไม้โลก หรือ World forestry day มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ประชาคมโลกได้เห็นถึงความสำคัญของทรัพยากรป่าไม้ตลอดจนประโยชน์และผลิตผลต่างๆ ที่ได้รับจากป่าทั้งนี้
แนวคิดในการกำหนดวันป่าไม้โลกมีต้นกำเนิดมาจากการประชุมสมัชชนสมัยทั่วไปของสันนิบาตยุโรปด้านการเกษตร (European Confederation of Agriculture) ครั้งที่ 23 ในปี 2541 และในปีเดียวกันนั้นเอง องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้สนับสนุนแนวความคิดดังกล่าว โดยคาดหวังว่าจะสามารถกระตุ้นความตระหนักของสาธารณชนถึงความสำคัญของทรัพยากรป่าไม้
โดยกำหนดให้มีการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องในวันที่ 21 มีนาคมของทุกปีทั่วโลก สาเหตุที่กำหนดให้วันที่ 21 มีนาคมของทุกปีเป็นวันป่าไม้โลกนั้น เนื่องจากวันดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์อยู่ในตำแหน่งตรงได้ฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลกพอดี ซึ่งจะเกิดขึ้นปีละ 2 ครั้ง (วันที่ 21 มีนาคมและ 22 กันยายนของทุกปี)
หรือในหนึ่งรอบที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ แกนหมุนของโลกที่เอียง (Earth’s axial tilt) จะเลื่อนมาอยู่ในระนาบที่ได้ฉากกับตำแหน่งดวงอาทิตย์ จุดที่ระนาบทั้งสองตัดกันว่า วิษุวัต (Equinox) เหตุการณ์นี้เรียกอีกอย่างว่า “วันราตรีเสมอภาค” หมายถึงเวลาตอนกลางคืนเท่ากับเวลากลางวันพอดีและในวันที่ 21 มีนาคม ดังกล่าว
ทำให้เกิดปรากฎการณ์ที่เรียกว่า “ศารทวิษุวิตของเขตซีกโลกใต้” (Autumnal equinox in Southern Hemisphere) หมายความว่า จุดที่มีกลางวันและกลางคืนเท่ากันในฤดูใบไม้ร่วง (วันศารท คือ วันเริ่มต้นของฤดูใบไม้ร่วงในซีกโลกใต้) และ วสันตวิษุของซีกโลกเหนือ (Vernal Equinox in Northern Hemisphere) หมายความว่า จุดที่มีกลางวันและกลางคืนเท่ากันในฤดูใบไม้ผลิเขตซีกโลกเหนือ
ทั้งนี้ FAO ได้เลือกวันดังกล่าวเป็นวันเฉลิมฉลองป่าไม้โลก เพื่อส่งเสริมแลประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนได้รับทราบถึงข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรป่าไม้ใน 3 ประเด็นหลัก คือ การป้องกัน (Protection) ผลิตผลป่าไม้ (Producion) และการนันทนาการ (Recreation)
ความสำคัญของ ”ป่าไม้” ในประเทศไทย
ป่าไม้เป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์อื่นๆ เพราะป่าไม้มีประโยชน์ทั้งการเป็นแหล่งวัตถุดิบของปัจจัยสี่ ได้แก่ แหล่งอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรคสำหรับสิ่งมีชีวิต ซึ่งป่าไม้ยังมีประโยชน์ในการรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อม ถ้าป่าไม้ถูกทำลายย่อมส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น สัตว์ ดิน น้ำ อากาศ ฯลฯ
ผลพวงเมื่อป่าไม้ถูกทำลายจะส่งผลไปถึงดินและแหล่งน้ำด้วย เพราะเมื่อมีการเผาหรือทำลายป่าจะส่งผลให้พื้นดินขาดพืชปกคลุมหน้าดิน เมื่อถึงฤดูฝน น้ำฝนที่ตกลงมาจะชะล้างหน้าดินและความอุดมสมบูรณ์ของดินไปทั้งหมด นอกจากนั้น ถ้าไม่มีต้นไม้แล้วจะไม่มีพืชคอยดูดซับน้ำเอาไว้เมื่อฝนตกหนักจะทำให้เกิดน้ำไหล่บ่าลงท่วมพื้นที่บ้านเรือนของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณที่ลุ่ม
และเมื่อถึงฤดูแล้งก็จะไม่มีน้ำใต้ดินเพื่อหล่อเลี้ยงต้นน้ำลำธานทำให้เกิดปัญหาภัยแล้งขึ้น ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยก็กำลังลังเผชิญหน้ากับปัญหาภัยแล้งนี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งผลกระทบของปัญหาภัยแล้งจะส่งผลกระทบต่อมาถึงระบบเศรษฐกิจและสังคม เช่น การขาดแคลนน้ำในการการชลประทานทำให้เกษตรกรทำนาไม่ได้ ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำได้เนื่องจากมีแหล่งน้ำไม่เพียงพอ
จะเห็นได้ว่าป่าไม้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนโลก ดังนั้น เราจึงต้องช่วยกันรักษาและฟื้นฟูป่าไม้ให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์เหมือนเดิม
ประเภทของป่า อัปเดต 2567
พื้นโลกมีป่าไม้ต่าง ๆ มากมายหลายชนิด ซึ่งแต่ละพื้นที่จะมีความแตกต่างกันไป โดยขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ และสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ สามารถแบ่งป่าในโลกออกไปหลายชนิด คือ
1. ป่าศูนย์สูตร (Equatorial Rainforest) เป็นป่าที่มีต้นไม้สูงขึ้นเบียดกันหนาแน่น แสงแดดไม่สามารถส่อง ลงมาถึงพื้นดินได้ เป็นป่าไม้ที่มีใบกว้างไม่ผลัดใบ และจะพบไม้เลื้อย หรือไม้เถาพันหรือเกาะตามกิ่งก้านของต้นไม้เต็มไปหมด
2. ป่าร้อนชื้น (Tropical Rain Forest) มีลักษณะคล้ายป่าศูนย์สูตร จะปรากฏอยู่ด้านหน้าของภูเขา ที่ตั้งรับลมประจำที่พัดจากทะเลเข้าสู่ฝั่ง จึงทำให้สภาพเป็นป่าดงดิบ ซึ่งมีต้นไม้น้อยกว่าป่าศูนย์สูตร
3. ป่ามรสุม (Monsoon Forest) เป็นป่าไม้ที่มีต้นไม้ขึ้นอยู่ห่าง ๆ บริเวณพื้นดินจะมีไม้เล็ก ๆ ขึ้น แสงแดดสามารถส่องผ่านทะลุไปถึงพื้นดินได้ ซึ่งมักจะเป็นไม้ที่ผลัดใบ
4. ป่าไม้อบอุ่นไม่ผลัดใบ (Temperate Rainforest) เป็นป่าไม้ในเขตอบอุ่นที่มีใบเขียวตลอดปี มีพรรณไม้น้อยชนิด แต่ละชนิดจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มขนาดและความสูงของต้นไม้เท่ากับป่าศูนย์สูตร
5. ป่าไม้อบอุ่นผลัดใบ (Temperate Deciduous Forest) เป็นป่าไม้ที่มีใบเขียวชอุ่มในฤดูร้อน แต่จะผลัดใบในฤดูหนาว ต้นไม้มีลำต้นสูงและมีใบขนาดใหญ่
6. ป่าสน (Needle Leaf Forest) เป็นป่าที่มีต้นไม้ลักษณะลำต้นตรง กิ่งสั้นใบเล็กกลมคล้ายเข็มเย็บผ้า มีต้นไม้ขึ้นเบียดเสียดกันอย่างหนาแน่น และมีใบเขียวชอุ่มตลอดปี บริเวณพื้นดินแทบจะไม่มีต้นไม้เตี้ย ๆ ซึ่งต้นไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้ตระกูลสนทั้งสิ้น
7. ป่าไม้เนื้อแข็งไม่ผลัดใบ (Evergreen Hardwood Forest) จะมีเป็นต้นไม้เตี้ย ๆ ลำต้นขนาดเล็ก ใบแข็ง และต้นมีกิ่งตั้งแต่ใกล้พื้นดิน จนถึงยอด ลักษณะคล้ายกับป่าไม้ผสมกับป่าละเมาะ (Scrub Forest)
8. ป่าสะวันนา (Savanna Woodland) จะเป็นป่าไม้ที่มีไม้ขึ้นอยู่ห่าง ๆ บริเวณช่องว่างระหว่างต้นไม้ใหญ่ ๆ จะมีไม้พุ่มขึ้นอย่างหนาแน่น มีสภาพอากาศค่อนข้างแห้งแล้ง จึงทำให้ต้นไม้ขึ้นไม่หนาแน่น
9. ป่าหนามและป่าพุ่มเขตร้อน (Thornbush and Tropical Scrubs) เป็นป่าที่มีต้นไม้ที่ทนต่อความแห้งแล้งและไม้พุ่ม ซึ่งพืชเหล่านี้สามารถทนต่อสภาพความแห้งแล้งที่ยาวนานและมีฤดูฝนสั้นๆ ได้ดี ส่วนป่าหนามนั้น จะเป็นไม้พุ่มที่มีหนาม และจะผลัดใบในช่วงที่ขาดแคลนน้ำ
10. ป่ากึ่งทะเลทราย (Semidesert Woodland) เป็นพืชพรรณที่ทนต่อความแห้งแล้ง ส่วนมากเป็นพวกไม้พุ่ม ตามพื้นดินของป่าชนิดนี้ จะมีวัชพืชหรือพืชต้นเล็ก ๆ ขึ้นอยู่น้อยมาก
11. พืชพรรณในทะเลทราย (Desert Vegetation) มักจะพบพืชที่มีใบเล็ก ๆ พืชที่มีหนาม ซึ่งเป็นพืชที่มีลำต้น สามารถเก็บน้ำไว้ใช้ได้เช่น ตะบองเพชร รวมทั้งมีพวกหญ้าแข็ง ๆ ขึ้นปะปนอยู่เป็นหย่อม ๆ
12. ป่าในเขตอากาศหนาว (Cold Woodland) เป็นพืชพรรณที่พบได้ในอากาศแถบขั้วโลกหรือเขตอากาศแบบทุนดรา ต้นไม้ที่ขึ้นมีขนาดเล็กมาก ต้นเตี้ยขึ้นอยู่ห่าง ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นพวกไม้พุ่มเตี้ย ๆ พื้นดินเบื้องล่างปกคลุมด้วยมอส
𝐏𝐫𝐢𝐦𝐨 𝐒𝐞𝐫𝐯𝐢𝐜𝐞 𝐒𝐨𝐥𝐮𝐭𝐢𝐨𝐧𝐬 เป็นผู้นำในธุรกิจบริการด้านอสังหาริมทรัพย์สมัยใหม่แบบครบวงจรและกำกับดูแลกิจการในกลุ่มบริษัทในเครือ ให้พัฒนาและเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งพัฒนาและลงทุนในธุรกิจสมัยใหม่ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด 𝐒𝐮𝐩𝐞𝐫 𝐋𝐢𝐯𝐢𝐧𝐠 𝐒𝐞𝐫𝐯𝐢𝐜𝐞𝐬, 𝐇𝐚𝐩𝐩𝐲 𝐌𝐚𝐤𝐞𝐫
Tel : 02-0810000
Website: https://primo.co.th
Line : https://lin.ee/Jt3nhkF
Primo Plus : https://apple.co/495d6mU